วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ : Alexander Graham Bell


เกิด วันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.1847 ที่เมืองเอดินเบิร์ก (Edinburg) ประเทศสก็อตแลนด์ (Scotland)

เสียชีวิต วันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ.1922 ที่เมืองโนวา สโคเทีย (Nova Scotia)

ผลงาน - ประดิษฐ์โทรศัพท์ ในปี ค.ศ.1876

- ก่อตั้งสมาคมแนะนำ และสอนคนหูพิการ ชื่อว่า American Association to Promote the Teaching of Speech to Deaf

การติดต่อสื่อสารถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากทั้งในอดีต ปัจจุบัน รวมถึงต่อไปอนาคต ในอดีตมนุษย์ใช้วิธีการส่งข่าวสารถึงกันด้วยวิธีต่าง ๆ มากมาย เช่น ใช้นกพิราบ ควันไฟ เป็นสัญญาณ หรือการใช้มนุษย์เดินทางส่งข่าวสาร ซึ่งแต่ละวิธีที่ได้กล่าวมาล้วนแต่ล่าช้า ไม่สะดวก อีกทั้งเกิดความผิดพลาดได้ง่าย ต่อมาแซมมวล มอร์ส นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์โทรเลขทำให้การสื่อสารมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นอีกลำดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สามารถส่งคำพูดได้ จนกระทั่งเบลล์สามารถประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้นสำเร็จ ทำให้การสื่อสารมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก ในปัจจุบันโทรศัพท์เป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีความสำคัญมากสำหรับการติดต่อสื่อสารเพราะสะดวกรวดเร็ว ประหยัดทั้งค่าใช้จ่าย และเวลา เบลล์เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.1847 ที่เมืองเอดินเบิร์ก (Ddinburg) ประเทศสก๊อตแลนด์ (Scotland) บิดาของเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาษาที่ใช้สำหรับคนหูพิการ ชื่อว่า อเล็กซานเดอร์ เมลวิน เบลล์ (Alexander Melvin Bell) การที่บิดาของเบลล์ได้ศึกษาเกี่ยวกับคนหูพิการ เพราะปู่ของเบลล์ได้ศึกษาเรื่องนี้มาก่อน อีกทั้งมารดาของเขาก็เป็นคนหูพิการ และเพราะเหตุ นี้เองทำให้เบลล์สามารถใช้ภาษาใบ้ อ่านริมฝีปาก และแยกแยะเสียงได้อย่างละเอียด โดยทั้งหมดนี้เบลล์ได้รับการถ่ายทอดมาจากบิดาของเขานั่นเอง เบลล์มีพี่ชายคนหนึ่งซึ่งเสียชีวิตด้วยโรควัณโรค แม้ว่าเบลล์จะโชคดีที่ไม่เสียชีวิต แต่เขาก็ติดโรคมาจากพี่ชาย ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สุขภาพของเบลล์จึงไม่ค่อยดีนัก เบลล์ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนเอดินเบิร์ก (Edinburg School) จากนั้นเบลล์ได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยลอนดอน (London University) เมื่อจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยลอนดอน เบลล์ได้เดินทางไปประเทศเยอรมนี เพื่อเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยวูซเบิร์ก จนจบการศึกษาระดับปริญญาเอกในปี ค.ศ.1867 หลังจากจบการศึกษาเบลล์ได้ทำงานเป็นผู้ช่วยของบิดาในการสอนและพัฒนาคนหูพิการ จนกระทั่งในปี ค.ศ.1870 อาการ ป่วยของเบลล์ได้ทรุดหนักขึ้น เบลล์จึงเดินทางพร้อมกับบิดาไปอยู่ที่เมืองออนตาริโอ (Ontario) ประเทศแคนาดา (Canada) ตามคำแนะนำของแพทย์ว่าควรไปพักในสถานที่ที่มีออนตาริโอ (Ontario) ประเทศแคนนาดา (Canada) ตามคำแนะนำของแพทย์ว่าควรไปพักในสถานที่ที่มีอากาศดี เมื่อเขารักษาตัวจนอาการทุเลาลง เบลล์ได้เดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา (UnitedState of America) และเข้าทำงานในตำแหน่งอาจารย์สอนการออกเสียงที่มหาวิทยาลัยบอสตัน (Boston University) จากความสามารถของเบลล์ เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์สอนวิชาสรีรวิทยาว่าด้วยเรื่องเสียง เบลล์ได้พยายามประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับคนหูพิการให้มีโอกาสได้ยินเสียงเหมือนเช่นคนปกติ ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นโทรศัพท์ ด้วยความที่เบลล์เป็นคนที่ชอบเล่นเปียโน วันหนึ่งเขาสังเกตว่าเสียงเพลงจากเปียโนเกิดจากการสั่นสะเทือนของเส้นลวดเพราะฉะนั้นเส้นลวดน่าจะเป็นตัวนำเสียงจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ ในปี ค.ศ.1873 เบลล์ได้ทำงานเป็นครูสอนหนังสือใน โรงเรียนคนหูพิการที่เมืองบอสตัน และต่อมาเบลล์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สรีรวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านโสตและเสียง และในระหว่างนี้เบลล์ได้ทำการทดลองค้นคว้าเพื่อจะส่งเสียงตามสาย เขาได้ร่วมมือกับโทมัส เอ. วัตสัน (Thomas A.Watson) ผู้ช่วยของเขา ซึ่งเป็นลูกชายเจ้าของร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้า ที่เบลล์ได้ซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับการทดลองเป็นประจำ ทั้งสองประสบความสำเร็จในการประดิษฐ์โทรศัพท์ในปี ค.ศ.1876 โดยการใช้เส้นลวดโยงจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่งส่วนปลายทั้งสองข้างจะเป็นหูฟัง ซึ่งภายในประกอบไปด้วยแท่งแม่เหล็กพันด้วยทองแดง ต่อจากนั้นจะเป็นแผ่นเหล็กบาง ๆ เพื่อพูดใส่กระบอกนี้จะเกิดการสั่นสะเทือน ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในขดลวด แต่ผลการทดลองในครั้งแรกยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่สามารถเข้าใจในคำพูดที่ส่งมาทางโทรศัพท์ได้ แต่ก็ประสบความสำเร็จในการส่งเสียง ต่อมาอีก 8 เดือน ทั้งสองได้ปรับปรุงโทรศัพท์ให้ดีขึ้น คำพูดแรกที่ใช้ในการส่งข้อความทางโทรศัพท์ครั้งนี้ คือ "คุณวัตสันมานี้หน่อย ผมต้องการคุณ"การที่เบลล์พูดเช่นนี้ก็เพราะเขาได้ทำกรดแบตเตอรี่หกรดเสื้อ เขาเรียกวัตสันจากห้องหนึ่ง วัตสันได้ยินคำพูดของเบลล์ได้อย่างชัดเจน ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1876 เบลล์ได้นำโทรศัพท์เข้าประกวดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่เมืองฟิลลาเดลเฟีย (Philadelphia) และได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยมในครั้งนี้ด้วย ในช่วงแรกไม่มีกรรมการคนใดให้ความสนใจในสิ่งประดิษฐ์ของเบลล์เลย แม้ว่าเบลล์จะพยายามอธิบายถึงประโยชน์ของโทรศัพท์ แต่เบลล์ก็ยังโชคดีอยู่มาก เมื่อมีกรรมการท่านหนึ่งชื่อ โดม ปริโด รู้จักและนับถือเบลล์ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเสียง และครูสอนคนหูพิการ และเมื่อปริโดได้ทดลองเอาหูแนบตรงหูฟัง ซึ่งเมื่อเขาได้ยินเสียงคนพูดออกมาจากหูฟัง เขารู้สึกตื่นเต้นมากพร้อมกับอุทานออกมาด้วยเสียงอันดัง จนกรรมการที่อยู่บริเวณนั้นเดินเข้ามาดู เมื่อทุกคนทดลองเอาหูแนบกับหูฟัง และได้ยินเสียงคนพูดออกมา ต่างก็ตื่นเต้นและประหลาดใจมาก และในปีเดียวกันเบลล์ได้เปิดบริษัทร่วมกับวัตสันผู้ช่วยของเขา เพื่อดำเนินการติดตั้งสายโทรศัพท์ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1876เบลล์ได้ดำเนินการติดตั้งสายโทรศัพท์จากแบรนด์ฟอร์ดถึงออนตาริโอ ประเทศแคนาดา รวมระยะทาง 8 ไมล์ ต่อมาอีก 2 เดือน เบลล์ได้ติดตั้งโทรศัพท์แบบ 2 ทาง ได้เป็นผลสำเร็จ จากนั้นเขาจึงดำเนินการติดตั้งสายโทรศัพท์จากบอสตันไปยังแมสซาชูเซส รวมระยะทาง 2 ไมล์ กิจการของเบลล์ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี จนกระทั่งปี ค.ศ.1876 บริษัทของเบลล์ได้ถูกฟ้องร้องจากบริษัท เวสเทิร์น ยูเนียน เทเลกราฟ (Western Union Telegraph Company) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับโทรเลขแต่ในที่สุดศาลได้ตัดสินให้เบลล์ชนะคดี เบลล์ได้นำโทรศัพท์ของเขาไปจดทะเบียนสิทธิบัตร และก่อตั้งบริษัทขึ้นอีกครั้งหนึ่งโดยใช้ชื่อว่า บริษัท อเมริกันเบลล์ เทเลโฟน (American Bell Telephone Company) จากผลงานชิ้นนี้ทำให้เบลล์มีชื่อเสียง และเงินทองมากขึ้น เบลล์ได้บริจาคเงินส่วนหนึ่งในการก่อตั้งสมาคมเพื่อคนหูพิการ ชื่อว่าAmerican Association to Promote the Teaching of Speech of Deaf นอกจากนี้เขายังให้การสนับสนุนการวิจัย เกี่ยวกับการบิน ต่อมาในปี ค.ศ.1915 เบลล์ได้รับเชิญไปเปิดผลงานในโอกาสที่ดำเนินการติดตั้งสายโทรศัพท์ข้ามทวีปเป็นครั้งแรก โดยเบลล์ได้พูดสนทนากับวัตสันในคำพูดเดิม คือ "คุณวัตสันมานี้หน่อย ผมต้องการคุณ"

แซมมวล มอร์ส : Samuel Morse



เกิดวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1791 ที่รัฐแมสซาชูเซส (Massachusette) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)


เสียชีวิต วันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1872 ที่กรุงนิวยอร์ค (New York) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)


ผลงาน - คิดค้นรหัสมอร์ส ซึ่งใช้แทนตัวหนังสือในการส่งโทรเลข


- คิดค้นประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลข


มอร์สนักวิทยาศาสตร์ผู้ประดิษฐ์เครื่องโทรเลข ซึ่งมีคุณประโยชน์อย่างมหาศาลในการสื่อสารที่รวดเร็ว ซึ่งต่อมาโทรเลขถือว่าเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของมนุษย์เลยทีเดียว มอร์สมีชื่อเต็มว่า แซมมวล ฟินเลย์ บรีส มอร์ส (Samuel Finley Breeze Morse)


เกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1791รัฐแมศซาชูเซส ประเทศสหรัฐอเมริกา บิดาของเขาชื่อว่า เจดิเดียทมอร์ส มีอาชีพเป็นนักบวช และนักเขียน มอร์สเข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนแห่งหนึ่งซึ่งมีเจ้าของเป็นหญิงชรานามว่า มาดามแรนท์ ซึ่งเป็นคนเจ้าระเบียบ และชอบลงโทษเด็ก ๆ ด้วยการใช้ปิ่นปักผมจิ้มตามตัว ซึ่งมอร์สก็เป็นผู้หนึ่งที่เคยถูกลงโทษ หลังจากจบการศึกษาขั้นต้นแล้วมอร์สได้เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ในวิชาศิลปะ ซึ่งเป็นวิชาที่เขาชอบมากอีกทั้งเขายังมีพรสวรรค์ในเรื่องนี้มาตั้งแต่เด็ก นอกจากวิชาศิลปะแล้วมอร์สได้มีโอกาสเข้าฟังบรรยายเกี่ยวกับวิชาไฟฟ้า เคมี และฟิสิกส์ อย่างสม่ำเสมอ แต่ก็ไม่ทำให้มอร์สมีความชำนาญด้านนี้มากนักด้วยมอร์สมีความสนใจด้านศิลปะมากกว่า อีกทั้งทางครอบครัวก็ให้การสนับสนุนด้านนี้ด้วย ดังนั้นเมื่อมอร์สจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเยลในปี ค.ศ. 1810 เขาได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษเพื่อศึกษาต่อทางด้านศิลปะ ในระหว่างที่มอร์สได้ศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษเขาได้รับอุปการะจากเบนจามิน เวสต์ จิตรกรชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียง อาศัยอยู่ที่ประเทศอังกฤษแต่ถึงอย่างนั้นมอร์สก็ได้รับความลำบากเพราะค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นมอร์สจึงต้องทำงานให้กับทางสถาบันราชศิลป์อีกทางหนึ่ง เพื่อแลกกับค่าใช้จ่ายในสถาบัน งานที่มอร์สต้องทำก็คือการสเกตช์ภาพอนุสาวรีย์แห่งหนึ่งด้วยชอล์กขาวและดำ นอกจากนี้แล้วเขายังได้วาดภาพเพื่อขายสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว ต่อมามอร์สได้ปั้นรูปเฮอร์คิวลิสด้วยดินเหนียวส่งเข้าประกวด ตามคำแนะนำของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งในสถาบันราชศิลป์ ซึ่งมอร์สได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองของสมาคมศิลป์อเดลฟี มอร์สยังคมทำงานด้านศิลปะต่อไป ในปี ค.ศ. 1813 ภาพเขียนสีน้ำมันชื่อว่า การตายของเฮอร์คิวลิส (The Dead ofHercules) ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 ภาพ ของงานนิทรรศการแสดงภาพของสถาบันราชศิลป์ ปัจจุบันภาพนี้ได้แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะของมหาวิทยาลัยเยล และในปี ค.ศ. 1815 ภาพเขียนสีน้ำมันของเขาได้ร่วมในงานนี้อีกครั้งหนึ่ง ภาพนี้มีชื่อว่าการตัดสินใจของจูปีเตอร์ (The Decide of Jupiter) หลังจากประสบความสำเร็จทางด้านศิลปะในประเทศอังกฤษ มอร์สจึงตัดสินใจเดินทางกลับประเทศสหรัสอเมริกาในปี ค.ศ. 1815 เมื่อกลับมาถึงประเทศสหรัฐอเมริกาเขาได้เปิดร้านจำหน่ายภาพเขียน (Gallery) แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนักจากนั้นเขาจึงรับวาดภาพเหมือน ซึ่งทำให้เขามีชื่อเสียงมากขึ้นเพราะเขาได้วาดภาพเหมือนของบุคคลสำคัญหลายคนแต่ก็ไม่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1818 มอร์สแต่งงานกับลูกเครียเทีย พิคเคอร์ริ่ง วอคเกอร์ หลังจากแต่งงานแล้วมอร์สจำเป็นต้องหารายได้จากงานอื่น เพราะรายได้จากงานวาดภาพเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว และเพราะเหตุนี้เขาและภรรยาต้องแยกกันอยู่ชั่วคราว โดยมอร์สได้เดินทางไปทำงานที่เมืองนิวยอร์ค และได้เข้าทำงานในตำแหน่งนักเขียน และผู้บรรยายวิชาศิลปะในเมืองนิวยอร์ค ในระหว่างที่ทั้งสองต้องแยกกันอยู่นี้เอง ต่อมาในปี ค.ศ. 1825 ภรรยาของมอร์สเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาย แต่การโทรคมนาคมในสมัยนั้นยังล้าช้า ทำให้กว่าจะทราบข่าวก็ล่วงเลยไปหลายวันแล้ว มอร์สรู้สึกเสียใจมาก และตั้งใจว่า จะหาวิธีส่งข่าวสารให้ได้รวดเร็วกว่านี้ให้ได้สักวันหนึ่ง หลังจากที่ภรรยาของเขาเสียชีวิตก็ทำให้มอร์สเศร้าโศกเป็นอย่างมาก ดังนั้นในปี ค.ศ. 1829 จึงตัดสินใจเดินทางไปยังประเทศอิตาลี และเดินทางกลับประเทศสหรัฐอเมริกาอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1832 ระหว่างเดินทางกลับจากทวีปยุโรป มอร์สได้มีโอกาสรู้จักกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้าหลายท่าน โดยเฉพาะชาร์ล เอฟ. แจ็คสัน (Charles F. Jaxkson) นักเคมีชาวอเมริกัน ได้เป็นผู้ที่คอยตอบปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้าให้กับผู้สนใจเสมอ ซึ่งมอร์สก็เป็นผู้หนึ่งที่ใช้ความสนใจเรื่องนี้เป็นอย่างมากและเป็นผู้หนึ่งที่นั่งฟังคำบรรยายเกี่ยวกับไฟฟ้าเสมอ นอกจากนี้แจ็คสันยังทำการทดลองอย่างง่ายเกี่ยวกับไฟฟ้าให้กับผู้โดยสารบนเรือได้ชม โดยการใช้แท่งเหล็กพันด้วยลวดทองแดง จากนั้นก็ปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ลวดทองแดง ปรากฏว่าแท่งเหล็กนั้นกลายเป็นแม่เหล็กชั่วคราว โดยดูดตะปูเหล็กขึ้นมาได้ แต่เมื่อหยุดปล่อยกระแสไฟฟ้าแท่งเหล็กก็จะกลายเป็นแท่งเหล็กธรรมดาและตะปูก็หลุดร่วมลงบนพื้น นอกจากนี้ามอร์สได้เข้าร่วมฟังการสนทนาระหว่างนักวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการนำกระแสไฟฟ้ามาใช้ในการส่งข่าวสารในระยะไหล ดังนั้นมอร์สจึงใช้เวลาที่อยู่บนเรือร่างต้นแบบเครื่องส่งโทรเลขขึ้น เมื่อมอร์สเดินทางมาถึงกรุงนิวยอร์คเขาเหลือเงินไม่มากนักจึงต้องรับจ้างเป็นครูสอนศิลปะตามบ้านและเวลาว่างส่วนที่เหลือเขาได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเครื่องโทรเลข ต่อมาในปี ค.ศ. 1835 มอร์สได้เข้าทำงานมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค (New YorkUniversity) ในตำแหน่งศาสตราจารย์ทางศิลปะ การทำงานในมหาวิทยาลัยแห่งนี้มอร์สไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน แต่ได้รับสิทธิพิเศษในการเรียนวิชาใดก็ได้ในมหาวิทยาลัยแทน มอร์สเลือกเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ซึ่งเข้ามีความรู้พื้นฐานมาบ้างแล้ว แม้ว่ามอร์สจะมีเวลาน้อยลง แต่ะเขาก็คงพยายามประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลขต่อไปมอร์สต้องประสบปัญหาหลายประการทั้งเงินทองและเวลา มอร์สใช้เวลาเฉพาะช่วงกลางคืนเท่านั้นในการทำงาน เนื่องจากกลางวันเขาต้องทำงานในมหาวิทยาลัยอีกทั้งมอร์สไม่มีเงินเพียงพอที่จะใช้ซื้ออุปกรณ์ทีละมาก ๆ ทำให้ต้องซื้อลวดทองแดงได้ทีละน้อย ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญในการสร้างโทรเลข แต่ในที่สุดมาร์สก็สามารถสร้างเครื่องส่งโทรเลขได้เป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ. 1837 ซึ่งเขาใช้ระยะเวลาถึง 5 ปีแต่การส่งโทรเลขนั้นไม่สามารถส่งเป็นตัวหนังสือได้ดังนั้นมอร์สจึงคิดเป็นรหัสเพื่อให้แทนตัวหนังสือ โดยสร้างสวิตช์ไฟอย่างง่ายขึ้น ทำจากสปริงทองเหลือง ส่วนปลายมีปุ่มสำหรับกดซึ่งติดอยู่กับสปริงและแม่เหล็กไฟฟ้าอันเล็ก ๆ เรียกว่า "อาร์เมเจอร์"และเมื่อกดปุ่มก็ทำให้กระแสไฟฟ้าเดิน ถ้ายกมือออกจากปุ่มกระแสไฟฟ้าก็จะตัดสวิตช์ชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า "สะพานไฟของมอร์ส"ซึ่งมีประโยชน์ในสำหรับส่งกระแสไฟฟ้าออกมาในช่วงสั้น ช่วงยาว ซึ่งทำให้เกิดรหัสในการส่งสัญญาณโทรเลข เรียกว่า "รหัสมอร์ส" คือ กดสั้น เป็นจุด ( . ) และกดยาวเป็นขีด ( _ ) ได้แก่
มอร์สได้แสดงการส่งโทรเลขครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1873 ภายในห้องประชุมของทางมหาวิทยาลัยนิวยอร์คโดยมีระยะทางในการส่งครั้งแรกเพียง 1,700 ฟุต แต่ถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะมีผู้คนเข้าชมอย่างมาก อีกทั้งการแสดงครั้งนี้ทำให้มอร์สได้รับการสนุบสนุนเงินทุนในการพัฒนางานโทรเลขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากอัลเฟรด เวลล์ บุตรชายเจ้าของกิจการจำหน่ายเหล็กและทองเหลืองที่รัฐนิวเจอร์ซี มอร์สได้ปรับปรุงเครื่องโทรเลขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เขาได้นำผลงานชิ้นนี้เดินทางไปยังกรุงนิวยอร์ค ในปี ค.ศ. 1838 เพื่อเสนอผลงานของเขาต่อสภาคองเกรส ซึ่งครั้งนี้มอร์สสามารถส่งโทรเลขได้เป็นระยะทางถึง 10 ไมล์แต่ถึงอย่างนั้น สภาคองเกรสก็ไม่ได้สนับสนุนเรื่องเงินทุนแก่เขา มอร์สได้พยายามขออนุมัติเงินทุกจากสภาคองเกรสอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1843 ซึ่งครั้งนี้ทางสภาคองเกรสได้อนุมัติเงินให้เขาจำนวน 30,000 ดอลลาร์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการวางสายโทรเลขจากกรุงวอชิงตันไปยังบัลติมอร์ รวมระยะทาง 38 ไมล์ซึ่งการวางสายโทรเลขได้สำเร็จลงในปี ค.ศ. 1884 เมื่อวางสายโทรเลขเสร็จเรียบร้อย จึงมีการทดลองส่งโทรเลขเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1844 ใจความว่า "พระเจ้าทำงานอะไร" ส่วนปลายทางที่บัลติมอร์ตอบกลับมาว่า "เขียนที่สุดปลายทาง" ถือว่าการส่งโทรเลขครั้งแรกประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี หลังจากนั้นกิจการโทรเลขก็ได้รับความนิยมอย่างมากในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งต่อมาก็ได้เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทยด้วย จากผลงานประดิษฐ์เครื่องโทรเลขทำให้มอร์สเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเขาได้เปิดบริษัทร่วมกับเวลล์ผู้ซึ่งเคยให้การสนับสนุนเขามาก่อน มอร์สยังได้รับรางวัลจากกลุ่มประเทศยุโรปเป็นเงินถึง 40,000 ฟรังก์ นอกจากนี้เขายังได้รับเชิญจากสมาคมวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ใช้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอีกด้วย


มอร์สเสียชีวิตวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1872 ที่กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วย โรคปอดบวม ก่อนหน้าที่เขาจะเสียชีวิต 1 ปี สมาคมโทรเลขแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สร้างอนุเสาวรีย์เป็นเกียรติแก่เขาที่สวนสาธารณะในเมืองนิวยอร์ค




ปิแอร์ คูรี่ : Pierre Curie




เกิด วันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ.1859 ที่กรุงปารีส (paris) ประเทศฝรั่งเศส (France)


เสียชีวิต วันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1906 ที่กรุงปารีส (Paris) ประเทศฝรั่งเศส (France)


ผลงาน - ค้นพบคลื่นเสียง - ค้นพบธาตุเรเดียม


เมื่อพูดถึงปิแอร์ คูรี่ แล้วอาจโด่งดังไม่เท่ากับมารี คูรี่ ภรรยาของเขา แต่ปิแอร์ก็เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการค้นพบธาตุเรเดียมด้วยเพียงแต่เขาเสียชีวิตไปก่อน การค้นพบของเขาทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลร่วมกับมารี อีกทั้งเขายังเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญมากในการค้นพบประโยชน์ของธาตุเรเดียม ปิแอร์เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ.1859 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาเป็นนายแพทย์ หลังจากจบการศึกษาขั้นต้นแล้ว เขาได้เข้าศึกษาต่อวิชาเคมี ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonn University) หลังจากที่เขาจบการศึกษาแล้วได้เข้าฝึกงานกับคณะผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ของทางมหาวิทยาลัย ซึ่งเขาก็สามารถสร้างผลงานเป็นที่น่าพอใจ และในปี ค.ศ.1878ปิแอร์ก็ได้รับรางวัลไซแอนซิเอท (Scienciate Award) ทางฟิสิกส์ และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการห้องทดลองประจำมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ และในระหว่างนี้เขาได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาในโรงเรียน โรงงานอุตสาหกรรม และงานทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ต่อมาในปี ค.ศ.1880 ปิแอร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับความต่างศักย์ของไฟฟ้าระหว่างผลึกหินควอทซ์ กับเกลือโรเชลลี ภายใต้ความกดดันสูง จากผลการทดลองเขาพอว่า ความกดดันมีผลกระทบต่อความต่างศักย์ ซึ่งปิแอร์เรียกสั้น ๆ ว่า "ปิแอร์โซอิเล็กทริคซิตี้ (Pierre so Electricity)" และเขาได้พบเพิ่มเติมอีกว่า ถ้าเพิ่มค่าความต่างศักย์ของไฟฟ้าให้มากขึ้น จะทำให้พื้นผิวของผลึกเกิดการสั่นสะเทือน ทำให้เกิดคลื่นเสียงที่มีความถี่สูงเกินกว่าที่คนปกติจะได้ยิน แต่ก็มีประโยชน์ เพราะต่อมานักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังได้นำหลักการเดียวกันนี้มาประดิษฐ์อุปกรณ์เกี่ยวกับเสียงหลายชนิดได้แก่ ไมโครโฟน และเครื่องบันทึกเสียงเป็นต้น ในปี ค.ศ.1895 ปิแอร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับความร้อนที่เกิดขึ้นกับแม่เหล็ก จากผลการทดลองปิแอร์พบว่าที่อุณหภูมิระดับหนึ่ง แม่เหล็กไม่สามารถแสดงสมบัติออกมาได้ โดยปิแอร์เรียกอุณหภูมิระดับนี้ว่า "คูรีพอยท์ (Cury Point)" และจากการทดลองครั้งนี้ เขาได้สร้างเครื่องมือขึ้นมาชิ้นหนึ่งชื่อว่า อิเล็กโทรมิเตอร์ (Electrometer) สำหรับใช้ในการทดลองครั้งนี้ด้วย จากผลงานชิ้นนี้เขาได้รับมอบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการประจำห้องทดลองเคมี และฟิสิกส์ประจำมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้พบกับมารียา สโคลดอฟสกา (Marja Sklodowskaป และแต่งงานกันในปี ค.ศ.1895 ในขณะที่ปิแอร์มีชื่อเสียง และประสบความสำเร็จทั้งด้านการงานและครอบครัวเหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น ในขณะที่เขากำลังเดินไปยังสำนักพิมพ์ เพื่อตรวจต้นฉบับ ได้มีรถบรรทุกคันหนึ่งวิ่งเข้ามาขนเขาล้มลง และทับศีรษะ ทำให้ปิแอร์เสียชีวิตทันทีในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1906 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ไมเคิล ฟาราเดย์ : Micheal Faraday


เกิด วันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1791 ที่กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)

เสียชีวิต วันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1867 ที่กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)

ผลงาน - ค้นพบสมบัติของแม่เหล็กที่ทำให้เกิดไฟฟ้า

- ประดิษฐ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือไดนาโม (Dynamo)

- นำเหล็กมาผสมกับนิกเกิล เรียกว่า สแตนเลส ซึ่งมีสมบัติเหนียว และไม่เป็นสนิท

- พบสารประกอบเบนซีน (Benzene)

- บัญญัติศัพท์ทางวิทยาศาสตร์หลายคำ เช่น ไอออน (lon) หมายถึง ประจุ

อิเล็กโทรด (Electrode) หมายถึง ขั้วไฟฟ้า

คาโทด (Cathode) หมายถึง ขั้วลบ

แอโนด (Anode) หมายถึง ขั้วลบ

ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีความสำคัญและความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อีกด้วยแม้ว่าจะเป็นเช่นนั้น แต่การสร้างกระแสไฟฟ้าขึ้นมาก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ในปัจจุบันกระแสไฟฟ้าผลิตขึ้นได้จากพลังงานหลายรูปแบบทั้งน้ำมัน น้ำ ลม และปรมาณู และฟาราเดย์ผู้นี้เองที่ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เรียกว่า "ไดนาโม (Dynamo)" ซึ่งเป็นต้นแบบของเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าในปัจจุบัน ฟาราเดย์เกิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1791 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษครอบครัวของเขาค่อนข้างยากจน บิดาของเขามีอาชีพเป็นช่างตีเหล็ก และรับจ้างใส่เกือกม้าทำให้เขาได้รับการศึกษาน้อย ฟาราเดย์ได้รับการศึกษาเพียงชั้นประถมเท่านั้น ก็ต้องลาออกเพื่อหางานทำตั้งแต่อายุ 13 ปี อาชีพแรกของฟาราเดย์ คือ เด็กส่งหนังสือพิมพ์ในร้านขายหนังสือแห่งหนึ่งด้วยความขยัน ต่อมาเจ้าของร้านหนังสือได้ให้ฟาราเดย์มาเย็บปกหนังสือ แทนที่จะต้องออกไปตระเวนข้างนอก ซึ่งเป็นโอกาสที่ทำให้ฟาราเดย์ได้อ่านหนังสือหลายประเภท รวมถึงหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้วย ครั้งหนึ่งฟาราเดย์มีโอกาสได้อ่านหนังสือของเจน มาเซต(Jane Marcet) เกี่ยวกับวิชาเคมีชื่อว่า Conversations in Chemistry และหนังสือสารานุกรมบริตันนิกา (EncyclopediaBritannica) ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้าด้วยหลังจากนั้นฟาราเดย์ได้ทำการทดลองตามหนังสือเล่มนี้และจากนั้นฟาราเดย์ก็มีความ ตั้งใจที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ให้ได้ในวันหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1813 ฟาราเดย์มีโอกาสได้เข้าฟังการปาฐกถาของเซอร์ฮัมฟรี เดวี่ (Sir Humphry Davy) เกี่ยวกับวิชาเคมีที่ราชบัณฑิตยสภา (Royal Institution) ฟาราเดย์ให้ความสนใจฟังปาฐกถาครั้งนี้มากถึงขนาดจดคำบรรยายไว้อย่างละอียดหลังจากนั้นเขาได้ทำการคัดลอดใหม่อย่างเรียบร้อย และใส่ปกอย่างสวยงาม ส่งไปให้เดวี่ พร้อมกับจดหมายอีก 1 ฉบับ ใจความในจดหมายเป็นเรื่องเกี่ยวกับความต้องการจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ของเขา หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ความฝันของฟาราเดย์ก็เป็นจริง เมื่อเดวี่ตอบรับจดหมาย พร้อมกับชวนฟาราเดย์ไปทำงานในหน้าที่ผู้ช่วยของเขา แม้ว่าหน้าที่ของฟาราเดย์จะแค่ล้าง หลอดแก้ว อ่างทดลอง หรือล้างเครื่องมือทดลองอื่น ๆ แต่เขาก็รู้สึกดีใจที่ได้ทำงานนี้ เพราะทำให้เขามีโอกาสใกล้ชิดกับนักวิทยาศาสตร์ อย่างเดวี่ และมีโอกาสได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อีกด้วย กาสรที่ฟาราเดย์อ่านหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากมาย ทำให้เขาเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ดีผู้หนึ่ง อีกทั้งเขาเป็นคนละเอียดถี่ถ้วน ช่างจดจำ และขยัน เป็นที่ถูกใจของเดวี่ และได้เลื่อนตำแหน่งฟาราเดย์ให้เป็นเลขาส่วนตัวของเขา มีหน้าที่ติดตาม และบันทึกคำบรรยายในการปาฐกถาของเดวี่ทุกครั้งจึงนับว่าเป็นโอกาสที่ดีของฟาราเดย์ที่จะได้เดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งทำให้เขาได้ศึกษางานด้านวิทยาศาสตร์ และมีโอกาสได้รู้จักกับนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน ต่อมาในปี ค.ศ. 1816 ภายหลังจากการเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ หลายแห่ง ทำให้ฟาราเดย์เป็นผู้ที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์มากคนหนึ่งเลยทีเดียว ประกอบกับเขาเป็นที่รักใคร่ของเดวี่ เดวี่จึงให้โอกาสฟาราเดย์ขึ้นแสดงปราฐกถาเกี่ยวกับวิชาเคมี ซึ่งแม้จะเป็นครั้งแรกฟาราเดย์ก็สามารถทำได้ดี หลังจากแสดงปราฐกถาเพียงไม่กี่ครั้ง ประชาชนให้ความสนใจเข้าฟังการปาฐกถาของฟาราเดย์อย่างคับคั่ง ทำให้เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากขึ้น พร้อมกันนั้นเขายังได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการห้องทดลองของราชบัณฑิตยสภา (Royal Institution) อีกด้วยและต่อมาในปี ค.ศ. 1824 ฟาราเดย์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของราชบัณฑิตยสภาด้วยและในปี ค.ศ. 1833 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตรจารย์วิชาเคมีประจำราชบัณฑิตยสภา ฟาราเดย์มีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้ามาก ครั้งหนึ่งระหว่างที่เขาเป็นเลขานุการของเดวี่ เขาได้ติดตามเดวี่ไปยังกรุงโรม(Rome) ประเทศอิตาลี (ltaly) เขาได้พบกับเคานท์อเลสซานโดรโลตา (Alessandro Volta) นักฟิสิกส์ผู้ค้นพบเซลล์ไฟฟ้า ซึ่งเขาตั้งชื่อว่าโวลตาอิค เซลล์ (Voltaic Cell) โดยการนำเซลล์มาต่อเข้าด้วยกันแบบอนุกรม และประดิษฐ์แบตเตอรี่ไฟฟ้าขึ้น อีกทั้งในระหว่างนั้นมีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากได้ทำการทดลองเกี่ยวกับไฟฟ้า เช่น ฮานน์ คริสเตียน เออร์สเตด (Hans Christian Oersted) เกี่ยวกับการนำเข็มทิศเข้าไปใกล้ ๆ กับลวดที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ ปรากฏว่าเข็มทิศหันออกไปในทิศทางอื่นแทนทิศเหนือ นอกจากนี้ยังมีการทอลองของอังเดร มารี แอมแปร์ (Andre Marie Ampere) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศล ซึ่งผลการทดลองสรุปได้ว่าไฟฟ้ามีอำนาจทำให้เกิดแม่เหล็ก และสามารถทำให้แท่งเหล็กธรรมดากลายเป็นแม่เหล็กไฟฟ้าได้จากผลงานการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่านนี้ ทำให้ฟาราเดย์มีความสนใจเกี่ยวกับไฟฟ้ามากขึ้นและเริ่มทำการทดลองดูเองบ้าง ปรากฏว่าได้ผลตามนั้นจริง ๆ ทำให้ฟาราเดย์มีความคิดว่าในเมื่อไฟฟ้าสามารถทำให้แท่งเหล็กธรรมดากลายเป็นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ เพราะฉะนั้นแม่เหล็กตามธรรมชาติก็น่าจะมีกระแสไฟฟ้าอยู่ ดังนั้นฟาราเดย์จึงทำให้การทดลองโดยการนำลวดมาพันแบบโซเลนอยด์ (Solenoid) คือ ใช้ขดลวดมาพันซ้อนกันจนเป็นรูปทรงกระบอก จากนั้นต่อปลายทั้ง 2 ข้างเข้ากับเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าปรากฏว่าเข็มของเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าไม่กระดิก แสดงว่าขดลวดไม่มีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นภายในขดลวด และเมื่อดึงแท่งแม่เหล็ก ออกมาปรากฏว่าเข็มไม่กระดิก จากนั้นฟาราเดย์จึงดึงแท่งแม่เหล็กขึ้นลงหลาย ๆ ครั้งติดต่อกันทำให้เข็มกระดิกไปมาลักษณะเช่นนี้ แสดงว่ามีการเกิดกระแสไฟฟ้าช่วงนั้น ๆ ขณะที่แม่เหล็กเคลื่อนที่กับขดลวดเรียกว่า "กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ" การทดลองของฟาราเดย์ไม่ได้หยุดแต่เพียงเท่านี้ เขาทำการทดลองต่อไปเนื่องจากเกิดความสงสัยว่า ถ้าสิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ใช่แท่งแม่เหล็กแต่เป็นโซเลนอยด์จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าหรือไม่ ผลการทดลองปรากฏว่าทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้เช่นกันแต่การเคลื่อนที่ตัดกันต้องเป็นไปในลักษณะตั้งฉากเท่านั้น จึงจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ส่วนการเคลื่อนที่แบบขนานกันจะไม่ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า และจากผลการทดลองครั้งนี้ฟาราเดย์ได้นำไปประดิษฐ์เครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าชื่อว่า ไดนาโม (Dynamo) ซึ่งเป็นเครื่องที่ เปลี่ยนพลังงานกล เช่น พลังงานไอน้ำ พลังงานลม และพลังงานความร้อน เป็นต้น มาใช้ในการทำให้ขดลวดหมุนเพื่อที่จะเคลื่อนที่ตัดกับเส้นแรงแม่เหล็กในสนามแม่เหล็ก โดยใช้หลักการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า และการที่ไดนาโมจะผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาได้มากแค่ไหนขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ คือ 1. ความเร็วของขดลวดตัวนำ และแท่งแม่เหล็ก ถ้าเคลื่อนที่ตัดกันเร็วก็จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าการเคลื่อนที่ช้า 2. จำนวนขดลวดในโซเลนอยด์ ถ้าจำนวนมากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้สูงมากเท่านั้น ฟาราเดย์เผยแพร่ผลงานชิ้นนี้ออกไปในปี ค.ศ. 1822 ในหนังสือที่มีชื่อว่า Experimental Researches in Elctriityต่อมาในปี ค.ศ. 1825 ฟาราเดย์ได้ทำการทดลองต่อไปอีก โดยการนำขดลวดอีกเส้นหนึ่งไปวางไว้ใกล้ ๆ กับขดลวดที่มีไฟฟ้า ปรากฏว่าขอลวดเส้นใหม่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ ผลจากการทดลองครั้งนี้ฟาราเดย์สามารถสรุปได้ว่าแม่เหล็กไฟฟ้ามีอำนาจทำให้เกิด กระแสไฟฟ้าในขดลวดอันที่ 2 ได้ จากการทดลองครั้งนี้เป็นที่มาของหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการแปลงศักย์ไฟฟ้าให้ได้สูงต่ำตามต้องการ และในปีเดียวกันนั้นเขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการราชบัณฑิตยสภา (Royal Institution) ต่อมาในปี ค.ศ. 1833 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์วิชาเคมีประจำ ราชบัณฑิตยสภาอีกด้วย แม้ว่าเขาจะประสบความสำเร็จทั้งชื่อเสียง และเงินทอง เขาก็ยังไม่หยุดทำการทดลองค้นคว้าต่อไป ฟาราเดย์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับไฟฟ้า จนในที่สุดเขาสามารถใช้ไฟฟ้าในการแยกธาตุ และชุบโชหะได้เป็นผลสำเร็จ นอกจากนี้แล้วเขายังนำโลหะ 2 ชนิดมาผสมกัน คือ เหล็กและนิกเกิล เพื่อให้มีสมบัติที่เหนียว และไม่เป็นสนิท โดยเรียกโลหะผสมชนิดนี้ว่า สแตนเลส (Stainless) พบสารประกอบเบนซีน และบัญญัติศัพท์ทางไฟฟ้าหลายคำ เช่น ไออน (lon) หมายถึง ประจุอิเล็กโทรด (Electrode) หมายถึง ขั้วไฟฟ้า คาโทด (Cathode) หมายถึง ขั้นลบ แอโนด (Anode) หมายถึง ขั้วบวก เป็นต้น ในปี ค.ศ. 1861 ฟาราเดย์ได้ลาออกจากงานในราชบัณฑิตสภา เนื่องจากเขาอายุมากแล้ว อีทั้งสุขภาพก็เสื่อมโทรม หลังจากนั้นอีก 6 ปีเขาก็ล้มป่วย และเสียชีวิตในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1867

โทมัส อัลวา เอดิสัน : Thomas Alva Edison


เกิด วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1847 เมืองมิลาน (Milan) มลรัฐโอไฮโอ (Ohio) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)เสียชีวิต วันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ.1931 ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)

ผลงาน - ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า

- เครื่องเล่นจานเสียง

- กล้องถ่ายภาพยนตร์

- เครื่องขยายเสียง

- หีบเสียง

- เครื่องบันทึกเสียง

ถ้าจะพูดถึงนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่แล้ว คงจะไม่มีใครเหนือกว่าเอดิสัน เอดิสันประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์จำนวนมากกว่า 1,000 ชิ้น นอกจากนี้เขายังปรับปรุงเครื่องใช้ที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น โทรศัพท์เครื่องส่งโทรเลข เป็นต้น ผลงานการประดิษฐ์ของเขาเป็นสิ่งที่สร้างความสะดวกสบาย และเป็นประโยชน์อย่างมากให้กับสาธารณชน เอดิสันเกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1847 ที่เมืองมิลาน มลรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา บิดาของเขาชื่อว่า แซมมวลเอดิสัน (Samuel Edison) ประกอบธุรกิจในประเทศแคนาดา และได้เข้าร่วมกับขบวนการต่อต้างรัฐบาล เมื่อฝ่ายต่อต้านพ่ายแพ้เขาจึงต้องลี้ภัยการเมืองมาอยู่ที่ประเทศสหรัฐฯ และทำธุรกิจเกี่ยวกับไม้แปรรูปทุกชนิด เมื่อเอดิสันอายุได้ 7 ขวบ ครอบครัวเขาได้อพยพไปอยู่ที่เมืองพอร์ตฮิวรอน (Port Huron) รัฐมิชิแกน (Michiganป เนื่องจากกิจการของครอบครัวประสบปัญหา และเขาได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนในเมืองพอร์ตฮิวรอนนั่นเอง แต่เขาไปโรงเรียนได้เพียง 3 เดือน เท่านั้นก็ไม่ยอมไปอีก ด้วยความที่เขาเป็นเด็กซุกซนอยากรู้อยากเห็นตลอดเวลา ทำให้ถูกครูตำหนิและลงโทษ เมื่อเขาออกจากโรงเรียนมารดาจึงรับหน้าที่เป็นครูสอนหนังสือให้เขา เขาเรียนหนังสือยู่เพียง 2 ปี เท่านั้น ก็สามารถอ่านเขียนได้อย่างคล่องแคล่ว สิ่งที่เอดิสันให้ความสนใจมากที่สุดก็คือ วิทยาศาสตร์ การทดลอง และการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ดังนั้นเขาจึงเริ่มหางานทำตั้งแต่อายุได้ 12 ปี เพื่อหาเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อหนังสือเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการสร้างห้องทดลองวิทยาศาสตร์ อีกทั้งเขาไม่ค่อยชอบเรียนหนังสือในโรงเรียน เอดิสันได้งานทำในบริษัทรถไฟแกรนทรังค์ (Grand Trank Train Company)ในหน้าที่เด็กขายหนังสือพิมพ์ บนรถไฟสายพอร์ตฮิวรอน - ดีทรอยต์ (Port Huron - Detroit) เอดิสันได้ใช้ตู้รถไฟตู้หนึ่งเป็นที่พัก เก็บสารเคมี และหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งเขามักใช้เวลาว่างส่วนใหญ่อยู่ในห้องพักเพื่ออ่านหนังสือ และทำการทดลองวิทยาศาสตร์ เอดิสันได้ทำงานอยู่ระยะหนึ่งเขาก็สามารถเก็บเงินได้จำนวนหนึ่ง เขานำเงินไปซื้อแท่นพิมพ์เล็ก ๆ เครื่องหนึ่ง เพื่อมาพิมพ์หนังสือพิมพ์ของเขาเอง ซึ่งเขาเป็นเจ้าของบรรณาธิการ นักเขียน และพนักงานขายหนังสือพิมพ์ด้วย หนังสือพิมพ์ของเอดิสันมีชื่อว่า Grand Trank Herald ซึ่งขายดีมาก เอดิสันได้นำเงินกำไรส่วนหนึ่งซื้ออุปกรณ์ในการทดลองวิทยาศาสตร์ สารเคมี แร่ และหนังสือวิทยาศาสตร์ แต่วันหนึ่งเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อรถไฟเกิดกระชากอย่างแรงทำให้แท่งฟอสฟอรัสตกกระแทกพื้น แล้วเกิดระเบิดอย่างแรง ทำให้ไฟไหม้ตู้รถไฟของเขา แต่โชคดีที่ดับไฟทันไม่ได้ลุกลามไปตู้อื่น แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ถูกไล่ออกจากงาน และทำให้หูของเขาต้องพิการ วันหนึ่งเขาได้ช่วยชีวิตลูกชายของนายสถานีที่กำลังวิ่งเล่นอยู่บนรางรถไฟ ในขณะที่รถไฟกำลังจะเข้าสถานี เอดิสันกระโดดลงไปอุ้มเด็กน้อยคนนั้นขึ้นมาได้ทันเวลาก่อนที่รถไฟจะทับเด็ก นายสถานีจึงสอนการส่งโทรเลขให้กับเอดิสันเป็นการตอบแทนเมื่อเอดิสันมีความชำนาญในการส่งโทรเลขมากขึ้น ในปี ค.ศ.1862 เขาจึงเช่าที่ว่างในร้านขายยาบริเวณใกล้กับสถานีรถไฟ เปิดร้านรับจ้างส่งโทรเลขแต่กิจการไม่ค่อยดีนัก เพราะมีร้านรับจ้างส่งโทรเลขหลายร้าน ส่วนร้านของเขาเป็นร้านเล็ก ๆ ที่พึ่งเปิดกิจการ จากนั้นเอดิสันจึงหันมาทำกิจการขายเครื่องจักร โดยเช่าส่วนหนึ่งของร้านขายของเปิดแผนกจำหน่ายเครื่องจักรขึ้น ในระหว่างที่เอดิสันทำกิจการจำหน่ายเครื่องจักร เขาได้ใช้เวลาว่างประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ขึ้นหลายชิ้น เช่นเครื่องบันทึกคะแนนเสียงในรัฐสภา แต่เมื่อผลิตออกจำหน่ายกลับไม่เป็นที่นิยมเท่าไรนัก เครื่องพิมพ์ราคาตลาดหุ้น และเครื่องโทรเลข 2 ทาง ซึ่งประสบความสำเร็จในการทดลองส่งเป็นอย่างดี เอดิสันได้นำผลงานชิ้นนี้ไปเสนอต่อบริษัทเวสเทิร์ส ยูเนียนเทเลกราฟ (Western Union Telegraph Company) แต่ได้รับการปฏิเสธ ดังนั้นเอดิสันจึงนำผลงานไปเสนอต่อบริษัทโทรเลขแอตแลนติก และแปซิฟิก (Atlantic and Pacific Telegraph Company) ทางบริษัทยอมรับผลงานของเขาแต่เอดิสันโชคร้ายเมื่อเขาทำการทดลองส่งสัญญาณจากนิวยอร์คถึงโรเชสเตอร์ ปรากฏว่าเกิดขัดข้องไม่สามารถส่งสัญญาณได้ทำให้เมื่อเขากลับมาที่เมืองบอสตันก็ต้องได้รับความลำบากเพราะไม่มีทั้งเงิน และงานก็ไม่มีทำ แต่เอดิสันก็ยังโชคดีอยู่บ้างเมื่อเขาพบกับวิศวกรไฟฟ้าผู้หนึ่ง ชื่อ แฟรงคลิน โปป (Franklin Pope) ได้ให้พักอาศัยอยู่ด้วย และฝากงานให้ทำในบริษัทแจ้งราคาทอง ลอว์โกลด์ อินดิเคเตอร์ (Lawglod Indicator) ซึ่งโปปทำงานอยู่ เอดิสันได้เข้าทำงานในตำแหน่งช่างโทรเลขประจำบริษัทด้วยความสามารถของเอดิสันเขาสามารถซ่อมเครื่องส่งโทรเลขได้เป็นอย่างดี และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยของโปป และเมื่อโปปลาออก เขาก็ได้ดำรงตำแหน่งแทนโปป ต่อมาบริษัทได้รวมกิจการเข้ากับบริษัทเวสเทิร์น ยูเนียน เทเลหราฟเอดิสันจึงลาออกหลังจากนั้นเขาได้เปิดบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าร่วมกับโปป และหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งชื่อว่า เจ.เอช.แอชลีย์ เอดิสันต้องทำงานหนักอยู่เพียงลำพังต่างกับหุ้นส่วนที่คอยรับผลประโยชน์ แต่เมื่อผลกำไรออกมาทุกคนต่างก็ได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ทำให้เอดิสันรู้สึกไม่พอใจที่ถูกเอาเปรียบเช่นนี้ ดังนั้นในปี ค.ศ.1871 เอดิสันจึงถอนหุ้นออกจากโรงงาน และเดินทางไปยังเมืองนิววาร์ด รัฐนิวเจอร์ซี (New Jersey)เพื่อเปิดบริษัทผลิตเครื่องใช้ต่าง ๆ บริษัทของเอดิสันประสบความสำเร็จอย่างมาก จากการจำหน่ายเครื่องป้องกันความผิดพลาดของใบแจ้งราคาหุ้น ต่อมาในปี ค.ศ.1876 เอดิสันได้ย้ายโรงงานไปที่เมืองเมนโล ปาร์ค (Menlo Park) รัฐนิวยอร์ค (New York) และในปีเดียวกันนี้อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell) สามารถประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้นเป็นผลสำเร็จ ส่งผลให้บริษัทโทรเลขประสบปัญหาขาดทุนอย่างรุนแรงดังนั้นบริษัทเวสเทิร์น ยูเนียน เทเลกราฟ จึงได้ว่าจ้างเอดิสันปรับปรุงโทรศัพท์ของเบลล์ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น เอดิสันได้พยายามหาวัสดุชนิดอื่น เพื่อใช้แทนแผ่นเหล็กที่เบลล์ใช้ในโทรศัพท์ จนกระทั่งเอดิสันทดลองนำคาร์บอนมาทาบริเวณแผ่นเหล็ก ปรากฏว่าได้ยินเสียชัดเจนขึ้น ซึ่งทำให้เป็นที่นิยมในเวลาไม่นานนัก ถึงแม้ว่าโทรศัพท์จะจำหน่ายได้ดีเพียงใด เอดิสันก็ได้รับค่าตอบแทนเพียง 100,000 ดอลลาร์เท่านั้น แต่ประโยชน์ที่เอดิสันได้รับนอกจากเงินก็คือ ระหว่างที่เขาปรับปรุงโทรศัพท์อยู่นั้น เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องหลายอย่าง และจากการปรับปรุงโทรศัพท์ครั้งนี้ทำให้เขาได้พบวิธีประดิษฐ์หีบเสียง ในปี ค.ศ.1877 ซึ่งใช้หลักการเดียวกับโทรศัพท์ คือ เมื่อมีเสียงส่งผ่านเข้าไปจะทำให้โลหะที่อยู่ภายในสั่น ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดเสียง เมื่อผลงานชิ้นนี้ของเขาได้เผยแพร่ออกไป ปรากฏว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เอดิสันได้ปรับปรุงหีบเสียงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งประดิษฐ์ของเขาอีกชิ้นหนึ่ง ก็คือ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องบันทึกเสียงของเขาประกอบไปด้วยกระบอกสูบเป็นร่องที่เป็นลานเกลียวยาวอันหนึ่ง ซึ่งหมุนไปด้วยข้อเหวี่ยง ทั้งสองด้านของกระบอกสูบนี้เป็นท่อเล็ก ๆ พร้อมกับมีแผ่นกะบัง และเข็มเขาได้ส่งแบบเครื่องบันทึกเสียงพร้อมกับคำแนะนำให้กับ จอห์น ครุยส์ (John Kruesi) หัวหน้าผู้ช่วยของโรงงาน เมื่อครุยส์นำเครื่องกลที่สร้างเสร็จแล้วมาให้เอดิสัน แต่ครุยส์ก็ยังไม่เข้าใจว่าเครื่องกลนี้มีประโยชน์อย่างไร จนกระทั่งเอดิสันพูดใส่ลงไปในกระบอกสูบว่า"Mary have a small sheep"และหมุนเครื่องอีกครั้ง ก็มีเสียงดังออกมาว่า "Mary have a small sheep" สร้างความประหลาดใจให้กับคนงานในโรงงานเป็นอย่างมาก เครื่องบันทึกเสียงถือได้ว่าเป็นผลงานชิ้นที่เขาชื่นชอบมากที่สุด ต่อมาเขาได้ปรับปรุงเครื่องบันทึกเสียงมาเป็นเครื่องบันทึกโทรเลข (Automatic Telegraph Repeater) เอดิสันได้นำผลงานทั้งสองชิ้นไปแสดงให้อัลเฟรด อีลีบัช (Alfred Dlybeah) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไซแอนติฟิคอเมริกัน (Scientific American Newspaper) เมื่ออีลีบัชได้เห็นสิ่งประดิษฐ์ของเอดิสัน เขารู้สึกตื่นเต้นมาก และได้นำผลงานทั้ง 2 ชิ้น ของเอดิสันลงในหนังสือพิมพ์ เมื่อข่าวนี้เผยแพร่ออกไปทำให้เอดิสันมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก และได้รับการยกย่องเป็นอย่างมาก เอดิสันได้รับเชิญจากบุคคลสำคัญหลายท่าน ให้นำผลงานของเขาไปแสดงให้ดู เช่น ลูเธอร์ฟอร์ด บีชาร์ด เฮส์ (RutherfordBirchard Hayes) ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา พระราชินีแห่งอังกฤษกษัตริย์แห่งรัสเซีย รวมถึงประธานาธิบดีแห่งเยอรมนีด้วย เอดิสันยังคงค้นคว้าและประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ต่อไป ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากที่สุดก็คือ หลอดไฟฟ้า ก่อนหน้านั้นเซอร์ฮัมฟรี เดวี่ (Sir Humphry Davy) ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับไฟฟ้าโดยการนำลวดมาต่อเข้ากับขั้วบวกและลบ ของแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ เมื่อเอาปลายของลวดทั้งสองเข้ามาใกล้ ๆ กัน ปรากฏว่าเกิดประกายไฟกระโดดข้ามไปมา โดยประกายไฟกระโดด มีลักษณะโค้งเล็กน้อยอีกทั้งมีแสงสว่างออกมาด้วย ต่อมาเขาได้ทำการทดลองเช่นนี้ในสูญญากาศและผลจากการทดลองครั้งนี้เดวี่ได้นำไปประดิษฐ์หลอดไฟ โดยตั้งชื่อหลอดไฟฟ้าชนิดนี้ว่า Arc Light แต่เส้นลวดไม่สามารถทนความร้อนได้สูง ทำให้การใช้งานของหลอดชนิดนี้มีอายุสั้น จากการทดลองของเดวี่ เอดิสันจึงได้พยายามค้นหาตัวนำที่สามารถทนความร้อนได้สูงเอดิสันทดลองใช้วัสดุมากกว่า 10,000 ชนิด มาทำการทดลองใช้เป็นไส้ของหลอดไฟ และในปี ค.ศ.1879 เอดิสันก็พบว่าเมื่อนำเส้นใยที่ทำด้วยฝ้ายมาทำด้าย จากนั้นนำมาเผาไฟจะได้ถ่านคาร์บอนที่ทนความร้อนได้สูง จากนั้นจึงนำมาบรรจุไว้ในหลอดสูญญากาศ หลอดไฟของเอดิสันสามารถจุดให้แสงสว่างได้นานถึง 45 ชั่วโมง หลอดไฟฟ้าชนิดนี้มีชื่อว่า Incandesent Electric Lamp แต่ถึงอย่างนั้นเอดิสันก็ยังต้องการหาวัสดุที่ดีกว่า เขาได้ส่งคนงานจำนวนหนึ่งออกไปเสาะหาวัสดุที่ดีกว่าฝ้ายและในที่สุดเขาก็พบว่าเส้นใยของไม้ไผ่ในประเทศญี่ปุ่นมีคุณภาพดีกว่า แต่ถึงกระนั้นหลอดไฟฟ้าของเอดิสันก็ยังไม่เป็นที่นิยมเท่าไรนัก เพราะราคาค่าไฟฟ้าในขณะนั้นแพงมาก เอดิสันจึงเดินทางกลับมานิวยอร์คอีกครั้งหนึ่ง และก่อตั้งบริษัทชื่อว่า Edison Electric Limit Company เพื่อสร้างเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า โดยการนำไดนาโมของไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faradayป มาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเขาได้ตั้งชื่อเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าเครื่องนี้ว่า "Beauty Mary Ann" ตามชื่อของภรรยาของเขา จากนั้นเอดิสันได้วางสายไฟฟ้าไปทั่วเมืองนิวยอร์ค ทำให้ทุกคนได้มีโอกาสได้ใช้ไฟฟ้ากันอย่างทั่วถึง นับว่าเอดิสันเป็นผู้ที่บุกเบิกกิจการไฟฟ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้เขายังสร้างเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า และสายดินเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าอีกด้วย กิจการของเอดิสันดำเนินไปได้ด้วยดีทั้งการจำหน่ายหลอดไฟฟ้า และจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ต่อมาในปี ค.ศ.1889 เขาได้ประดิษฐ์เครื่องมือเกี่ยวกับการถ่ายภาพขึ้น โดยใช้หลักการเดียวกับเครื่องบันทึกเสียง ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการถ่ายภาพเคลื่อนไหว หรือกล้องถ่ายภาพยนตร์ แต่ในขั้นแรกภาพที่ถ่ายยังไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ต่อมาในปีค.ศ.1912 เขาได้ปรับปรุงและทำให้ภาพเคลื่อนไหวได้ นอกจากกล้องถ่ายภาพยนตร์แล้วเขายังสร้างเครื่องฉายภาพยนตร์ ขึ้นด้วยต่อจากนั้นเอดิสันได้สร้างภาพยนตร์ที่พูดได้ครั้งแรกของโลกขึ้น โดยใช้เครื่องบันทึกเสียงเข้ามาเป็นส่วนประกอบในการฉายภาพยนตร์ เขาได้ว่าจ้างนักแสดงจากบรอดเวย์ (Broadway) มาแสดงในภาพยนตร์ของเขา ภาพยนตร์เครื่องแรกของเอดิสันชื่อว่า Synchronized Movie ผลงานของเอดิสันยังมีอีกหลายชิ้น ได้แก่ เครื่องเล่นจานเสียง เครื่องขยายเสียง (Amplifier) เครื่องอัดสำเนา (DuplicatingMachine) และแบตเตอรี่ที่ทำจากนิกเกิลและเหล็ก เป็นต้น เอดิสันได้ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการประดิษฐ์คิดค้น เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ อยู่เสมอ การที่เขาทำงานอย่างหนักและพักผ่อนเพียงวันละ 3-4 ชั่วโมง เท่านั้น ทำให้เอดิสันได้ล้มป่วยลงด้วยโรคกระเพาะ เบาหวาน และปัสสาวะเป็นพิษแต่เมื่ออาการทุเลาลง แทนที่เขาจะหยุดพักผ่อนกลับไปทำงานอย่างหนักอีก ทำให้อาการป่วยกำเริบขึ้นมาอีกครั้ง และเป็นสาเหตุทำให้เขาเสียชีวิตในวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ.1931 จากนั้นรัฐบาลได้สร้างหลอดไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไว้บนยอดเสาสูง 13 ฟุต 8 นิ้ว เส้นผ่านศูนย์กลาง 9 ฟุต 2 นิ้ว หนัก 3 ตัน มีหลอดไฟบรรจุอยู่ภายในถึง 12 ดวงซึ่งมีกำลังไฟฟ้ารวมกันถึง 5,200 วัตต์ หลอดไฟฟ้าอันนี้สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1934 เพื่อระลึกถึงคุณประโยชน์ที่เขาได้สร้างเอาไว้

ปีทาโกรัส : Pythagoras




เกิด 582 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองซามอส (Samos) ประเทศกรีซ (Greece)


เสียชีวิต 507 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองเมตาปอนตัม (Metapontum)


ผลงาน - สร้างสูตรคูณหรือตารางปีทาโกเรียน (Pythagorean Table)


- ทฤษฎีบทเรขาคณิตที่ว่า "ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใด ๆ กำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลบวกของกำลังสองของความยาวของด้านประกอบมุมฉาก"


- สมบัติของแสง และการมองวัตถุ


- สมบัติของเสียง
ปีทาโกรัส เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะของนักคณิตศาสตร์ผู้คิดค้นสูตรคูณ หรือตารางปีทาโกเรียน (Pythagorean Table)และทฤษฎีบทในเรขาคณิตที่ว่า "ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใด ๆ กำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับผลบวกของกำลังสองของความยาวของด้านประกอบมุมฉาก" ซึ่งทฤษฎีทั้งสองนี้เป็นที่ยอมรับ และใช้กันมาจนปัจจุบันนี้ ปีทาโกรัสเกิดเมื่อประมาณ 582 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองซามอส (Samos) ประเทศกรีซ ปีทาโกรัสเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ ทฤษฎีของเขาได้นำมาพิสูจน์และพบว่าถูกต้องน่าเชื่อถือและใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนี้ เนื่องจากปีทาโกรัสเป็นนัก ปราชญ์ที่เกิดก่อนคริสต์ศักราชถึง 500 ปี ดังนั้นประวัติชีวิตส่วนตัวของเขาจึงไม่มีการบันทึกไว้มากนัก เท่าที่มีการบันทึกไว้พบว่าเขาเป็นคนฉลาดหลักแหลม มีความสามารถ และเป็นที่นับถือของชาวเมืองมากทีเดียว เมื่อปีทาโกรัสอายุได้ 16 เขาได้เดินทางไปศึกษาวิชากับเทลีส (Thales) นักปราชญ์เอกคนแรกของโลก แม้ว่าเทลีสจะเป็นผู้ที่มีความรู้กว้างขวางในหลายสาขาวิชา และได้ถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นให้กับปีทาโกรัสจนหมดสิ้น แต่ปีทาโกรัสก็ยังต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอีก ดังนั้นในปี 529 ก่อนคริสต์ศักราช ปีทาโกรัสจึงออกเดินทางไปตามเมืองต่าง ๆ เช่น อาระเบีย เปอร์เซีย อินเดีย และอียิปต์ตามลำดับ เขาได้กลับจากการเดินทางกลับเกาะซามอส และพบว่าเกาะซามอสได้อยู่ในความปกครองของโพลีเครตีส (Polycrates) และอีกส่วนหนึ่งได้ตกเป็นของเปอร์เซีย เมื่อปีทาโกรัสเห็นเช่นนั้น จึงเดินทางออกจากเกาะซามอสไปอยู่ที่เมืองโครตอน (Croton) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอิตาลี และที่เมืองโครตอนนี้เองปีทาโกรัสได้ตั้งโรงเรียนขึ้น โรงเรียนของปีทาโกรัสจะสอนเน้นหนักไปในเรื่องของปรัชญาคณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ปีทาโกรัสได้กล่าวว่า "คณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าไม่มีคณิตศาสตร์แล้ว ทุกอย่างก็จะไม่เกิดขึ้น" ข้อเท็จจริงข้อนี้ถือว่าถูกต้องที่สุด เพราะไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้าง การคำนวณหาระยะทางหรือแม้กระทั่งการประดิษฐ์เครื่องใช้ การค้นพบเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ของเขา ได้แก่ การพบเลขคี่ โดยเลข 5 เป็นเลขคี่ตัวแรกของโลกและเลขยกกำลังสอง นอกจากนี้ปีทาโกรัสยังแบ่งคณิตศาสตร์ออกเป็น 2 สาขา คือ


1. เลขคณิต ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเลข


2. เรขาคณิต เป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปทรงต่าง ๆ เช่น สี่เหลี่ยม วงกลม สามเหลี่ยม และหกเหลี่ยม เป็นต้น ซึ่งวิชานี้มีประโยชน์อย่างมากในทางสถาปัตยกรรม และทฤษฎีบทเรขาคณิตที่มีชื่อเสียงที่สุดของปีทาโกรัสก็คือ "ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใด ๆ กำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับผลบวกของกำลังสองของความยาวของด้านประกอบ มุมฉาก" โรงเรียนของปีทาโกรัสมีผู้ให้ความสนใจส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนจำนวนมาก ทั้งพระมหากษัตริย์ ขุนนางราชสำนักและพ่อค้าคหบดีที่มั่งคั่ง ผู้ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนแห่งนี้ได้มีการตั้งชุมนุม โดยใช้ชื่อว่า "ชุมนุมปีทาโกเรียน (Pythagorean)" ซึ่งผู้ที่จะสมัครเข้าชุมนุมปีทาโอกเรียนจะต้องมีความรู้ด้านคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี อีกทั้งจะไม่เผยแพร่ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้กับผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของชุมนุมชุมนุมปีทาโกเรียนมีบทบาทอย่างมากในเรื่องของวิทยาศาสตร์ในยุคนั้น อีกทั้งเป็นชุมนุมแรกที่มีความเชื่อว่า โลกกลมและไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาลอีกทั้งต้องโคจรอีกด้วย ปีทาโกรัสเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับโลกกลม และหมุนรอบตัวเองรวมถึงดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ ก็หมุนรอบตัวเองเช่นกัน ซึ่งทฤษฎีนี้ในเวลาต่อมานักดาราศาสตร์อย่างโคเปอร์นิคัส และกาลิเลโอ ได้นำมาพิสูจน์แล้วพบว่าทฤษฎีนี้ถูกต้อง ไม่เพียงแต่งานด้านคณิตศาสตร์เท่านั้นที่ปิทาโกรัสให้ความสนใจ เขายังมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องแสงด้วย การค้นคว้าของปีทาโกรัสทำให้เขารู้ความจริงว่า มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นแสงสว่างได้ เพราะแสงสว่างเป็นเพียงอนุภาคเล็ก ๆ เท่านั้น แต่แสงสว่างเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เรามองเห็นวัตถุ เนื่องจากแสงตกกระทบไปที่วัตถุ ทำให้วัตถุนั้นสะท้อนแสงมากระทบกับตาเราดังเช่นที่เราสามารถมองเห็นดวงจันทร์มีแสง ก็เพราะแสงจากดวสงอาทิตย์ที่ส่องไปยังดวงจันทร์และสะท้อนกลับมายังโลกทั้งที่ดวงจันทร์ไม่มีแสง แต่เราก็สามารถมองเห็นดวงจันทร์ได้ นอกจากเรื่องแสงแล้ว ปิทาโกรัสได้ค้นพบเกี่ยวกับเรื่องเสียงด้วย การค้นพบของเขาสรุปได้ว่าเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ การพบความจริงข้อนี้เนื่องจากวันหนึ่งเขาได้เดินผ่านร้านตีเหล็กแห่งหนึ่ง ปีทาโกรัสได้ยินเสียงที่เกิดจากช่างตีเหล็กใช้ค้อนตีแผ่นเหล็กแผ่นเหล็กนั้นสั่นสะเทือน ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดเสียง ปีทาโกรัสเสียชีวิตเมื่อประมาณ 507 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เมืองเมตาปอนตัม (Metapontum)




































ฮิปโปเครตีส : Hippocrates


เกิด 460 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เกาะโคส (Cose) ประเทศกรีซ (Greece)

เสียชีวิต 347 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เกาะโคส (Cose) ประเทศกรีซ (Greece)

ผลงาน - บุกเบิกวิชาแพทย์แผนปัจจุบัน และได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งวิชาการแพทย์ (Father of the Medicine)

การรักษาโรคด้วยวิธีการที่ทันสมัย ได้มีการพัฒนาอย่างจริงจังเมื่อประมาณ 200 กว่าปี มานี้เอง แต่การเริ่มต้นของวิชาการ ด้านนี้มีมานานกว่า 2,000 ปี มาแล้ว จากความคิดริเริ่มของนายแพทย์ชาวกรีกผู้หนึ่งที่มีนามว่า ฮิปโปเครตีส ผู้ซึ่งเป็นบิดาแห่งวิชาการแพทย์แผนปัจจุบัน ฮิปโปเครตีสเป็นนายแพทย์คนแรกของโลกที่ทำการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการสมัยใหม่ คือ วินิจฉัยถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคก่อนแล้วจึงทำการรักษา ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้ ก่อนหน้าที่ฮิปโปเครตีสจะบุกเบิกวิธีการรักษาเช่นนี้ ผู้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเทพเจ้าดลบันดาลให้เกิดความเจ็บป่วย เพราะฉะนั้นวิธีการรักษาอาการป่วยก็คือ การบวงสรวง อ้อนวอน ขอร้องเทพเจ้าให้หายจากอาการ เจ็บป่วยเหล่านี้ ซึ่งผู้ที่ทำการรักษาผู้ป่วยในสมัยนั้นส่วนใหญ่จึงไม่ใช่แพทย์ แต่เป็นนักบวชที่ทำพิธีกรรมบวงสรวงเทพเจ้า ฮิปโปเครตีสเกิดเมื่อประมาณ 460 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เกาะโคส ประเทศกรีซ เขาได้รับการศึกษาจากครูผู้หนึ่งเกี่ยวกับวิชาปรัชญา คณิตศาสตร์ และการแพทย์ ฮิปโปเครตีสต้องการที่จะเปลี่ยนแนวความคิดของคนในสมัยนั้นที่เชื่อว่า อาการเจ็บป่วยเกิดจากการดลบันดาลของเทพเจ้า โดยเขาอธิบายว่าอันที่จริงแล้วอาการเจ็บป่วยอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เป็นต้นว่า ความผิดปกติ หรือ ความบกพร่องของร่างกาย อาหาร อากาศ และเชื้อโรค เป็นต้น เพราะฉะนั้นวิธีการรักษาโรคก็ควรจะต้องวินิจฉัยสาเหตุของโรคว่าเกิดจากสาเหตุใด แล้วจึงหาวิธีการรักษาต่อไป ฮิปโปเครตีสใช้เวลาในการศึกษาวิธีการรักษาผู้ป่วยตลอดชีวิตของเขาจากผู้ป่วยนั่นเอง เพราะผู้ป่วยแต่ละคนก็แตกต่างกันไปทั้งอาการของโรคและวิธีการรักษา เขาจะดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และจดบันทึกเกี่ยวกับผู้ป่วยอย่างละเอียด ทั้งประวัติส่วนตัว อาการ สาเหตุของโรค รวมถึงวิธีการรักษาด้วย วิธีการรักษาผู้ป่วยของฮิปโปเครตีสจะเป็นไปอย่างละเอียดทุกขั้นตอน แม้แต่ยาที่รักาผู้ป่วยก็เป็นยาที่ไม่รุนแรงและใช้เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะเขาเชื่อว่าธรรมชาติของคนนั้นสามารถรักษาตัวเองได้ โดยผู้ป่วยทุก ๆ คนต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ ทั้งเรื่องอากาศ ผู้ป่วยควรอยู่ในที่ ที่มีอากาศบริสุทธิ์ อาหารก็ควรได้รับประทานที่เหมาะสม คืออาหารอ่อนที่รับประทานง่าย เช่น ข้าวต้ม ซุป เป็นต้น เพราะร่างกายของผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่อ่อนแอ แม้แต่เรื่องความสะอาดก็เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งความสะอาดของร่างกาย และของใช้ทั้งของผู้ป่วยเอง เช่น เสื้อผ้า เครื่องนอน เป็นต้น และอุปกรณ์การแพทย์ยิ่งต้องรักษาความสะอาดมากเป็นพิเศษ ไม่เพียงแต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเท่านั้น ฮิปโปเครตีสยังรักษาผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุจนกระดูกหัก หรือเป็นแผลฉกรรจ์ เขาก็สามารถรักษาได้ เขาเรียนรู้วิธีการรักษาบาดแผล ให้สะอาด โดยการใช้น้ำมันดินมาทาที่แผลซึ่งสามารถป้องกันบาดแผลไม่ให้ลุกลามได้เป็นอย่างดี การรักษาโรคเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้คนพ้นจากความทุกข์ทรมาน แต่วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคเป็นสิ่งที่ดีกว่า และฮิปโปเครตีสก็ให้ความสนใจเรื่องการรักษาสุขภาพนี้ด้วยเช่นกัน เขาคิดว่าคนที่มีสุขภาพแข็งแรงก็จะไม่ล่มป่วยได้ง่าย ๆ และวิธีการรักษาสุขภาพ ให้แข็งแรงอยู่เสมอก็คือการออกกำลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และการทำจิตใจให้ผ่องใสก็เป็น สิ่งสำคัญเช่นกัน ฮิปโปเครตีสได้ตั้งโรงเรียนสอนวิชาแพทย์ขึ้นที่เกาะโคส และเขียนตำราแพทย์ไว้มากมายที่เกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยวิธีการต่าง ๆ วิธีการใช้ยา วิธีการรักษาบาดแผล กระดูกหัก และวิธีการผ่าตัด แม้แต่วิธีการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเขาก็ได้เขียนขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่เขาบันทึกจากผู้ป่วยที่เขาทำการรักษา ดังนั้นตำราแพทย์ของเขาจึงเป็นตำราที่น่าเชื่อถือ เพราะเขียนขึ้นจากความจริงทั้งสิ้น ฮิปโปเครตีสถือว่าเป็นผู้ให้กำเนิดวิชาการแพทย์แผนปัจจุบัน วิธีการรักษาของเขามีระเบียบแบบแผนเป็นที่น่าเชื่อถือ ซึ่งในปัจจุบันผู้ที่จบวิชาแพทย์ก็ยังต้องกล่าวคำปฏิญาณ (Hippocratic Oath) ตามที่ฮิปโปเครตีสเคยกล่าวไว้ต่อหน้าเทพเจ้าแอสเคลปิอุส (Asclepius) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์ของกรีก และส่วนหนึ่งในคำปฏิญาณนี้ ได้ถูกนำมาเป็นข้อบังคับ หรือจรรยาบรรณของแพทย์ด้วย ดังจะยกตัวอย่างมาส่วนหนึ่ง "จรรยาและข้อกำหนดที่ข้าพเจ้ายึดถือและประกาศไว้นี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของผู้ป่วยในความดูแล ซึ่งข้าพเจ้าจะใช้พละกำลังของข้าพเจ้าช่วยเหลือผู้ป่วยจนสุดความสามารถ ข้าพเจ้าจะไม่ใช้ความรู้ของข้าพเจ้าให้เป็นอันตรายต่อผู้อื่น หรือรักษาผู้อื่นด้วยวิธีการที่ผิด ข้าพเจ้าจะไม่สั่งจ่ายยาที่ทำให้ต้องเสียชีวิตเป็นอันขาด ข้าพเจ้าจะไปเยี่ยมบ้านเรือน เพื่อประโยชน์สุขของผู้ป่วยเท่านั้น โดยงดเว้นจากการคดโกง และประสงค์ร้าย"

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ชาร์ล โรเบิร์ต ดาร์วิน : Charles Robert Darwin



เกิด วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ (England)


เสียชีวิต วันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1882 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ (England)


ผลงาน - ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต


- เขียนหนังสือชื่อว่า The Original of Species หรือ กำเนิดพืชและสัตว์ต่าง ๆ


การถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จากการเดินทางสำรวจดินแดนชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตอนมต้และมหาสมุทรแปซิฟิกของดาร์วิน ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศภูมิอากาศ ลักษณะสัตว์ และพืช รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในดินแดนต่าง ๆ และที่สำคัญที่สุดในการสำรวจครั้งนี้ คือ การที่มนุษย์ได้ล่วงรู้ความลับทางธรรมชาติที่เกี่ยวกับการวิวัฒนาการทั้ง ของสัตว์ และของพืช รวมถึงมนุษย์ด้วย โดยดาร์วินกล่าวว่ามนุษย์นั้นมีวิวัฒนาการมาจากลิง ซึ่งเป็นความจริงที่ทุกคนยอมรับมาจนทุกวันนี้ อาจกล่าวได้ว่าหากการเดินทางสำรวจโลกครั้งนั้นขาดนักธรรมชาติผู้ยิ่งใหญ่นามว่า ชาร์ล ดาร์วิน สาธารณชนอาจจะไม่มีโอกาสได้รับรู้เรื่องราวมหัศจรรย์เหล่านี้ได้เลย ดาร์วินเกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrubbvery) ชรอพไชร์ (Shrophire) ประเทศอังกฤษ(England) ในครอบครัวที่มีฐานะมั่งคั่งและมีชื่อเสียงมากที่สุดครอบครัวหนึ่งของอังกฤษบิดาของดาร์วินเป็นนายแพทย์ชื่อว่า โรเบิร์ต วอริง ดาร์วิน (Robert Waring Darwin) บิดาของดาร์วินต้องการให้เขาศึกษาวิชาแพทย์ เพื่อเป็นแพทย์เช่นเดียวกันแต่ดาร์วินไม่สนใจการศึกษาไม่ว่าจะวิชาอะไร เขามักใช้เวลาส่วนใหญ่กับการเที่ยวเล่น ยิงนก ตกปลา ไล่จับแมลงชนิดต่าง ๆเพื่อการสะสม และใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ พฤติกรรมของดาร์วินสร้างความหนักใจให้กับบิดาของเขาอย่างมาก เนื่องจากเกรงว่าดาร์วินจะนำความเสื่อมเสียมาสู่ตระกูลได้ ดังนั้นบิดาจึงบังคับให้ดาร์วินเรียนวิชาแพทย์ ถึงแม้ว่าดาร์วินจะไม่ต้องการแต่บิดาของเขาก็ยังบังคับให้ดาร์วินเรียนแพทย์จนได้ ในปี ค.ศ. 1825 พ่อของดาร์วินได้ส่งเขาไปเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก (Edinburg University) พร้อมกับพี่ชายของเขา ดาร์วินต้องเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์กอย่างเบื่อหน่าย ในระหว่างที่เขานั่นฟังบรรยายก็มักจะนั่งหลับไม่ก็เหม่อลอยมองออกไปนอกหน้าต่าง อีกทั้งเขายังกลัวการผ่าตัดศพอย่างมากอีกด้วย ทำให้ดาร์วินเรียนอยู่ได้เพียง 2 ปี เท่านั้นก็ต้องลาออกจากมหาวิทยาลัย เมื่อดาร์วินลาออกจากมหาวิทยาลัยเขาก็ออกเที่ยวเตร่และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการยิงนกตกปลา พ่อของดาร์วินรู้สึกเป็นห่วงลูกชายคนนี้มากเกรงว่าต่อไปภายหน้าจะลำบาก เพราะไม่มีความรู้พอที่จะประกอบอาชีพได้ ดังนั้นพ่อจึงส่งดาร์วินไปเรียนต่อวิชาเกี่ยวกับศาสนา ซึ่งดาร์วินก็ไม่ได้ปฏิเสธแต่อย่างใด แต่ก่อนที่จะเรียนศาสนานั้นต้องเรียนให้จบปริญญาตรีเสียก่อน การ์วินจึงเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) ในระหว่างที่เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยแหงนี้ เขาได้มีโอกาสเขาฟังการบรรยายวิชาธรรมชาติอยู่เสมอซึ่งเป็นสิ่งที่เขาชื่นชอบมาตั้งแต่เด็ก อีกทั้งดาร์วินยังได้ศึกษาหาความรู้ด้านนี้จากตำรา และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญอีก 2 ท่าน คือศาสตราจารย์เฮนสโลว์ (P.Henslow) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพฤษฏศาสตร์ และศาสตราจารย์เซดจ์วิค (P.Sedgwick) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธรณีวิทยาทั้งสองได้พาดาร์วินออกสำรวจตามสถานที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ ซึ่งดาร์วินก็ให้ความสนใจเป็นอย่างดีดาร์วินสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี ค.ศ. 1829 แต่ดาร์วินก็ยังคงศึกษาวิชาต่าง ๆ ที่เขาสนใจต่ออีก 1 ปี และในระหว่างปีนี้เองทางราชนาวีอังกฤษมีโครงการจะออกเดินทางสำรวจสภาพภูมิประเทศ บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตอนมต้และมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งยังไม่มีผู้ใดเคยทำการสำรวจมาก่อน โดยจะใช้เรือหลวงบีเกิ้ล (H.M.S.Beagle) เป็นเรือที่ใช้ในการเดินทางสำรวจครั้งนี้ พร้อมกับกับกัปตันวิทซ์รอย (Captain Witzroy) เป็นผู้บังคับการเรือ แต่ก่อนจะออกเดินทางกัปตันวิทซ์รอยต้องการนักธรรมชาติวิทยาเดินทางไปกับคณะสำรวจครั้งนี้ด้วย กัปตันได้ประกาศรับอาสาสมัครอยู่เป็นเวลานานก็ไม่มีผู้ใดสนใจเพราะนักธรรมชาติที่จะเดินทางไปกับเรือลำนี้จะต้องออกต่าใช้จ่ายในการเดินทางครั้งนี้เองทั้งหมดกัปตันจึงเดินทางไปพบกับศาสตราจารย์เฮนสโลว์ เพื่อขอร้องให้ช่วยหานักธรรมชาติวิทยาให้ศาสตราจารย์เฮนสโลว์จึงนำข่าวนี้มาบอกแก่ดาร์วิน ซึ่งดาร์วินรู้สึกดีใจมากที่จะได้มีโอกาสออกสำรวจดินแดนที่ยังไม่เคยมีผู้ใดเคยสำรวจมาก่อน อีกทั้งเขาต้องขอค่าใช้จ่ายในการเดินทางในครั้งนี้อีกด้วย เมื่อดาร์วินไปขออนุญาตด้วยความที่เป็นห่วงลูกชาย พ่อเขาจึงไม่อนุญาตให้เดินทางในครั้งนี้ ซึ่งทำให้ดาร์วินรู้สึกเสียใจเป็นอันมาก เขาจึงเดินทางไปหาโจเซียร์ เวดจ์วูด (Josiah Wedgwood) ลุงของเขา และเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังเพื่อเป็นการปรับทุกข์ ลุงสงสารเขามากจึงไปพูดขอร้องแทนกับพ่อของดาร์วิน ในที่สุดพ่อเขาก็อนุญาตให้ดาร์วินออกเดินทางไปกับเรือหลวงบีเกิ้ลได้ เรือหลวงบีเกิ้ลออกเดินทางจากท่าเรือเมืองดาเวนพอร์ต (Davenport Harbor) เมืองพลายเมาท์ (Plymount) ประเทศอังกฤษในวันที่ 27ธันวาคม ค.ศ. 1831 โดยแล่นเข้ามหาสมุทรแอตแลนติกเลียบไปตามชายฝั่งทางทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกาโดยเข้าสู่หมู่เกาะคานาร์ เป็นหมู่เกาะแรกซึ่งห่างจากชายฝั่งทวีปแอฟริกาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 60 ไมล์ต่อจากนั้นจึงข้างฝั่งไปยังทวีปอเมริกาใต้เข้าสู่ประเทศบราวิล ที่เมืองเรซิเฟ (Recife) ซัลวาดอร์ (Salavdor) และริโอเดอ จาเนโร (Rio de Janeiro) เพื่อสำรวจลุ่มแม่น้ำอะเมซอน (Amazon) ต่อจากนั้นก็เข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้โดยแล่นอ้มไปทางแหลมฮอร์น (Cape Horn) เพื่อเข้าสู่มหาสมุทรแฟซิฟิกตอนใต้ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้เข้าสำรวจประเทศซิลี (Chile) เมืองวาลปาเรส (Valparais) เรือบีเกิ้ลแล่นเรียบชายฝั่งไปจนถึงประเทศเปรู ซึ่งระหว่างทางเรือได้แวะตามเกาะต่าง ๆ มาโดยตลอด เมื่อสำเรวจประเทศเปรูเสร็จ เรือบีเกิ้ลออกเดินทางไปยังเกาะตาฮิติ (Tahiti Island)ต่อจากนั้นก็เดินทางสำรวจต่อไปยังตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้ เข้าสู่ประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand) ต่อจากนั้นก็เข้าสู่เกาะแทสมาเนีย (Tasmania Island) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะออสเตรเลีย และเข้าสำรวจประเทศออสเตรเลียในเวลาต่อมา หลังจากเรือได้เดินทางเพื่อเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย ผ่านเกาะสุมาตราและชวา เข้าสู่แหลมมะละกา (Malaga Cape)จากนั้นจึงเข้าสู่เกาะมอริเทียส (Mauritius Island) ซึ่งตั้งอยู่กลางมหาสมุทรอินเดีย และเดินทางต่อมาเรื่อย ๆ จนถึงเมืองปอร์ต หลุยส์ (Port Louis) ผ่านแหลมกูดโฮป (Cape of Good Hope) เข้าสู่เกาะเซนต์เฮเลนา (St. Helena) และเข้าสู่ประเทศบราซิลอีกครั้งหนึ่ง ที่เมืองเปอร์นัมบูโก (Pernumbugo) ต่อจากนั้นเรือบีเกิ้ลได้เข้าจอดที่อ่าวเปอร์โต ปาร์ยา (PortoPraya) ในหมู่เกาะเคปเวิร์ด (Cape de Verd) และแวะที่เมืองอาโซส (Azores) เป็นแห่งสุดท้ายก่อนเข้าจอดเทียบท่าที่เมืองฟอลมัธ (Falmouth) เมืองท่าทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ การเดินทางครั้งนี้ดาร์วินต้องเผชิญกับอาการเมาคลื่น และอาการเจ็บป่วยอยู่ตลอดวเลาเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในแต่ละวัน อีกทั้งอากาศที่แตกต่างไปจากที่ดาร์วินคุ้นเคย ถึงอย่างนั้นเขาก็ไม่เคยท้อแท้ จากการเดินทางครั้งนี้เขามีโอกาสได้พบเห็นพิช สัตว์สภาพภูมิประเทศที่แปลกตา รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันออกไป เช่น เมื่อเรือบีเกิ้ลเดินทางไปถึงหมู่เกาะเคปเวิร์ด และจอดที่ท่าเรือเมืองปราเวีย (Pravia) ดาร์วินได้พบกับพืชเขตร้อนที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อน เช่น กล้วยหอม ปาล์ม และต้นมะขาม เป็นต้น อีกทั้งเขายังได้เห็นหินสีขาวที่แข็งมาก และจากการวิเคราะห์ดาร์วินสรุปว่าหินสีขาวนี้เกิดจากซากหอย และปะการังจากทะเล ซึ่งต่อมาถูกลาวาไหลลงมาทับอีกชั้นหนึ่ง ทำให้หินมีความเข็งมากเป็นพิเศษต่อจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก ทำให้หินสีขาวดันขึ้นมาอยู่เหนือสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 45 ฟุต ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง คือ หมู่เกาะกาลาปาโกส ซึ่งประกอบไปด้วยเกาะถึง 14 เกาะ ในจำนวนนี้มี 5 เกาะ เป็นเกาะขนาดใหญ่ซึ่งเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวมากถึง 45 ไมล์จากการสำรวจดาร์วินพบว่าเกาะเหล่านี้เกิดจากหินลาวาของภูเขาไฟซึ่งบนเกาะแต่ละเกาะจะมีภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่มีความสูงถึง 3,000 - 4,000 ฟุต สภาพโดยทั่วไปของหมู่เกาะกาลาปาโกลแห้งแล้งและกันดาร อีกทั้งมีสัตว์ที่มีลักษณะพิเศษอาศัยอยู่ทั่วไปได้แก่ เต่าที่มีน้ำหนักมากถึง 200 ปอนด์ เส้นผ่านศูนย์กลางของกระดองยาวประมาณ 7 ฟุต และมีอายุมากประมาณ 300 - 400 ปี ซึ่งเตาขนาดใหญ่เหล่านี้เป็นที่มาของชื่อเกาะกาลาปาโกส เพราะในภาษาสเปนกาลาปาโกสแปลว่าเต่ายักษ์ อีกอย่างหนึ่งที่สร้างความประหลาดใจให้กับดาร์วิน คือ กิ้งก่ายักษ์จำนวนมากบริเวณชายฝั่งทะเลซึ่งมีขนาดลำตัวยาถึง 4 ฟุต ส่วนพืชบนเกาะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหญ้า ส่วนไม่ยืนต้นก็มีอยู่บ้างและจำนวนน้อย การเดินทางของดาร์วินยังพบกับสิ่งแปลกประหลาดจำนวนมาก ซึ่งล้วนสร้างความตื่นเต้นให้กับดาร์วินแทบทั้งนั้น ดาร์วินได้จดบันทึกทุกเรื่องในการเดินทางครั้งนี้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิอากาศในแต่ละวัน แต่ละสถานที่ สภาพภูมิประเทศ อีกทั้งพันธุ์พืช และสัตว์ ที่เขาได้พบทุกชนิด นอกจากนี้ดาร์วินยังได้เก็บซากพืช ซากสัตว์ เช่น แมลง เปลือกหอย และหิน ไว้เป็นจำนวนมาก บางส่วนดาร์วินได้ส่งมาเก็บไว้ที่บ้านพักในประเทศอังกฤษทางพัสดุไปรษณีย์ แต่บางชิ้นมีขนาดใหญ่ไม่สามารถเก็บมาได้ ดาร์วินจะวาดภาพไว้อย่างละเอียด โดยภาพที่เขาวาดจะมีสัดส่วนเหมือนจริงทุกประการ และเมืองดาร์วินเดินทางมาถึงเกาะสุมาตรา และเกาะชวาเขาได้พบกับพืชเขตร้อนเช่นเดียวกับที่พบที่เมืองปราเวีย คือ กล้วยหอม และมะพร้าว นอกจากนี้ดาร์วินยังได้พบกับแมลงปีกแข็งและเขาสามารถรวบรวพันธ์ของแมงมุมบนเกาะแห่งนี้ได้ถึง 13 พันธ์ นอกจากนี้แล้ว ดาร์วินยังได้พบกับนก และสัตว์แปลก ๆอีกหลายชนิด เรือบีเกิ้ลใช้เวลาในการเดินทางครั้งนี้ทั้งหมด 5 ปี โดยถึงประเทศอังกฤษในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1836 เมื่อดาร์วินกลับบ้านเขาก็ยังหมกหมุ่นอยู่กับการศึกษาแยกหมวดหมู่ ให้กับซากพืช ซากสัตว์ ที่เขาเก็บมา และในปีเดียวกันนี้ดาร์วินได้ตีพิมพ์ผลงานของเขาออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า A Naturalist's Voyage Around the World ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เขาพบเห็นมาตลอดระยะเวลา 5 ปี ในการเดินทางสำรวจโลกไปกับเรือบีเกิ้ล และจากผลงานชิ้นนี้ ดาร์วินได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการธรณีวิทยาสมาคม (Geological Society) ในปี ค.ศ. 1838 และต่อมาในปี ค.ศ. 1842 ดาร์วินได้ย้ายไปอยู่ที่มณฑลเคนท์ (Kent) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงลอนดอน ในระหว่างที่เขาพำนักอยู่ที่นี่ดาร์วินได้ทำการศึกษาค้นคึว้าเกี่ยวกับธรรมชาติ พร้อมกับตีพิมพ์ผลงานออกมาอีก 1 เล่ม ชื่อว่า The Structure and Distribution of Coral Reef ต่อมาอีก 2 ปี ดาร์วินได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาอีก 1 เล่มชื่อว่าGeological Observations of South America และในปี ค.ศ. 1846 ดาร์วินได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาอีกเล่ม ชื่อว่าGeological Observation on Volcanic Island หนังสือทั้ง 3 เล่มนี้ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางของดาร์วินในการสำรวจโลกกับเรือบีเกิ้ล หลังจากนั้นดาร์วินมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องเพรียง ซึ่งเขาเก็บมาจากชายฝั่งประเทศซิลี เมื่อครั้งที่เขาเดินทางนั่นเอง ดาร์วินได้ศึกษาลักษณะทางกายภาพของเพรียงอย่างละเอียด โดยการผ่าตัดดูเพรียงทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิตจากการศึกษาเพรียงดาร์วินได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเพรียงถึง 4 เล่ม จากเรื่องเพรียง ดาร์วินได้หันมาให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตโดยเขามีแรงบันดาลใจมาจากซากฟอสซิล (Fossil) ดาร์วินใช้เวลาในการค้นคว้าเรื่องนี้นานกว่า 20 ปี เขารวบรวมข้อมูลเพื่อค้นหาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตดาร์วินศึกษาสิ่งมีชีวิตหลายชนิดทั้งคนม้า สุนัข และลิง เป็นต้น จากการ้นคว้าเขาสามารถสรุปและตั้งเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการได้ว่าสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในอดีต ต่อมาในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 ดาร์วินได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานออกมาเล่มหนึ่งมีชื่อว่า The Original of Species หรือ กำเนิดพืชและสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งมีเนื้อหาอธิบายถึงกำเนิดของสิ่งมีชีวิต รวมถึงวิวัฒนาการจากรูปแบบหนึ่งมาสู่รูปแบบหนึ่งด้วย ซึ่งมีผลมาจากสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ คือเมื่อสภาพแวดล้อมเป็นเช่นไร สิ่งมีชีวิตทั้งหลายจำเป็นต้องปรับสภาพให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนั้นเพื่อชีวิตที่จะคงอยู่ต่อไป โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องใช้ระยะเวลาอันยาวนานจะเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้างทางร่างกายและลักษณะนิสัย การวิวัฒนาการเช่นนี้ดาร์วินเรียกว่า "การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection)" นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังอธิบายเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ว่ามาจากลิง เมื่อหนังสือของดาร์วินได้รับการเผยแพร่ออกไป ปรากฏว่าถูกคัดค้านจากพวกเคร่งศาสนาอย่างหนัก บางคนถึงกับว่ากล่าวดาร์วินอย่างรุนแรงว่าเป็นพวกนอกศาสนา นอกรีต แม้แต่กัปตันเรือบีเกิ้ลซึ่งทั้งสองเคยร่วมเดินทางสำรวจด้วยกันเป็นเวลานานถึง 5 ปี ก็ได้ว่ากล่าวดาร์วินอย่างรุนแรงเช่นกัน เหตุการณ์เป็นเช่นนี้เพราะคนเหล่านี้มีความเชื่อว่าสรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนแต่พระเจ้าสร้างมา ซึ่งมีรูปแบบเช่นนี้มาตั้งแต่แรก แต่ต่อมาไม่นานนักคนเหล่านี้ก็ให้การยอมรับทฤษฎีข้อนี้ สำหรับวงการวิทยาศาสตร์ และประชาชนส่วนใหญ่ต่างก็ยอมรับในทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน ตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการเผยแพร่ออกมา ดาร์วินพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับธรรมชาติออกมาอีกหลายเล่ม ได้แก่


- ค.ศ. 1862 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Fertilization of Orchids


- ค.ศ. 1868 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Variation of Animal and Plants under Domestication


- ค.ศ. 1871 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Descent of Man and Selection in Relation to Sea


- ค.ศ. 1872 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Expression of the Emotion in Man and Animal


- ค.ศ. 1875 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Effect of Cross and Self - Fertilization in the Vegetable Kingdom


- ค.ศ. 1877 พิมพ์หนังสือชื่อว่า Different Forms of Flower and Plant of The Same Species


- ค.ศ. 1880 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Power of Movement in Plants


- ค.ศ. 1881 พิมพ์หนังสือชื่อว่า The Formation of Vegetable Mould Through The Action of Worms


ซึ่งเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายก่อนที่ดาร์วินจะเสียชีวิตในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1882 ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่วิหารเวสเตอร์ผลงานของดาร์วินที่เขาได้ถ่ายทอดลงในหนังสือของเขา ล้วนแต่เป็นผลงานที่มีประโยชน์อย่างมากทั้งทางชีววิทยา และมนุษยวิทยา โดยเฉพาะทฤษฎีวิวัฒนาการถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการชีววิทยา

เบนจามิน แฟรงคลิน : Benjamin Franklin



เกิด วันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1706 ที่กรุงบอสตัน (Boston) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)


เสียชีวิต วันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1790 ที่กรุงบอสตัน (Boston) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)


ผลงาน - ค้นพบประจุไฟฟ้าในบรรยากาศ


- ประดิษฐ์สายล่อฟ้า


ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง เกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น ยังคงเป็นความลับทางธรรมชาติอยู่จนกระทั่งเบนจามิน แฟรงคลิน ได้ค้นพบสาเหตุที่ทำให้เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และวิธีป้องกันความเสียหายที่เกิดจากฟ้าผ่า โดยการประดิษฐ์สายล่อฟ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก แฟรงคลินได้เพียงแต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานยอดเยี่ยมเท่านั้น เขายังเป็นรัฐบุรุษคนสำคัญคนหรนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย


แฟรงคลินเกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1706 ที่กรุงบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา บิดาของเขาชื่อว่า โจซิอาร์ แฟรงคลินมีอาชีพทำสบู่ และเทียนไข ซึ่งลี้ภัยทางศาสนาจากประเทศอังกฤษมาอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกา แฟรงคลินได้รับการศึกษาครั้งแรกที่โรงเรียนใกล้ ๆ บ้านเขานั่นเอง แต่เรียนอยู่ได้ 2 ปี เท่านั้น ก็ต้องลาออก เพราะครอบครัวของเขาค่อนข้างจะยากจน และต้องช่วยเหลือกิจการทำสบู่ และเทียนไขของครอบครัว แม้ว่ากิจการจะเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ แต่แฟรงคลินก็ยังต้องการศึกษาต่อ ซึ่งบิดาของเขาก็เห็นใจและเมื่อเขาอายุได้ 12 ปี บิดาก็ส่งเขาไปอยู่กับเจมส์ แฟรงคลิน (James Franklin) พี่ชายคนโต ซึ่งมีกิจการโรงพิมพ์ชื่อว่านิว อิงแลนด์ เคอร์เรนท์ (New England Current) อยู่ที่กรุงบอสตัน แฟรงคลินช่วยงานในโรงพิมพ์อย่างขยันขันแข็ง โดยครั้งแรกเขาได้ฝึกงานในตำแหน่งช่างพิมพ์ ต่อมาเขาได้ลาออกจากโรงพิมพ์ของพี่ชาย เนื่องจากเกิดความขัดแย้งกันขึ้น เหตุเกิดขึ้น จากวันหนึ่งแฟรงคลิน ได้นำงานเขียนของเขาไปใส่รวมไว้กับงานของนักเขียนคนอื่น เมื่อเจมส์ได้อ่านก็รู้สึกชอบ และตีพิมพ์เรื่องของแฟรงคลินเมื่อผลงานชิ้นนี้เผยแพร่ออกไป ปรากฏว่าเป็นที่นิยมของชาวเมือง แฟรงคลินจึงออกมาเปิดเผยว่านั่นคือบทความของเขา ทำให้พี่ชายเขาโกรธมาก และก็มีปากเสียงกับแฟรงคลินอย่างรุนแรง หลังจากที่แฟรงคลินลาออกจากโรงพิมพ์ของพี่ชาย เขาก็มาเปิดกิจการโรงพิมพ์ของเขาเอง ที่เมืองฟิลลาเดเฟีย (Philadelphia) ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุเพียง 17 ปี เท่านั้น ในช่วงแรก ๆ แฟรงคลินได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับข่าวสาร และความรู้ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก จากนั้นแฟรงคลินได้หันมาพิมพ์หนังสือประเภทปฏิทินพิสดารแทน (Almanac) ซึ่งใช้ชื่อหนังสือว่า Poor Richard ซึ่งแฟรงคลินเป็นผู้เขียนบทความลงในหนังสือเล่มนี้เอง โดยใช้นามปากกาว่า Richard Sanderภายในปฏิทินจะมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมาย ทั้งคำคม และคติสอนใจ และแฟรงคลินยังได้พิมพ์หนังสือพิมพ์อีกด้วย โดยใช้ชื่อหนังสือพิมพ์ว่า เพนน์ซิลวาเนีย กาเซท (Pennsylvania Gazette) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมาก นอกจากนี้แล้วเขายังพิมพ์หนังสือประเภทบันเทิงคดี และหนังสือตลกอีกด้วย ระหว่างนี้เขาได้ใช้เวลาที่ว่างในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และเดินทางไปประเทศอังกฤษเพื่อศึกษางานด้านการพิมพ์ โดยการสนับสนุนจากผู้บริหารท้องถิ่นคนหนึ่ง แต่เมื่อแฟรงคลินเดินทางไปถึงประเทศอังกฤษแล้ว ผู้บริหารคนนี้กลับไม่ส่งเงินไปให้เขาตามที่รับปากไว้ ทำให้แฟรงคลินต้องหางานทำ โดยเปิดโรงพิมพ์เล็ก ๆที่บ้านพัก ต่อมาในปี ค.ศ. 1725 เขาจึงเดินทางกลับสหรัฐอเมริกา และเปิดโรงพิมพ์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อกิจการโรงพิมพ์ของเขามีความมั่นคงดีแล้ว เขาจึงหันมาทำงานเพื่อสังคมบ้าง โดยเริ่มจากการรวบรวมสมาชิกเพื่อจัดตั้งห้องสมุดสาธารณะภายในเมืองขึ้น โดยสมาชิกภายในกลุ่มจะต้องจัดหาหนังสือมาเพื่อแลกเปลี่ยนให้กับสมาชิกคนอื่นได้อ่านต่อมาแฟรงคลินได้เข้าเล่นการเมือง เมื่อแฟรงคลินเป็นนักการเมืองแล้ว ทำให้ต้องเดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ รวมทั้งประเทศอังกฤษด้วย ซึ่งเมื่อเขาเดินทางไปยังกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขาได้มีโอกาสพบกับนักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งที่ทำการทดลองเกี่ยวกับประกายไฟฟ้า จากเหตุนี้เองทำให้แฟรงคลินมีความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และเรื่องที่เขาสนใจ มากที่สุดก็คือ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ทำให้เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า แฟรงคลินเริ่มสังเกตลักษณะของฟ้าแลบและสรุปว่า


- สามารถให้แสงสว่างได้ และมีสีของแสง


- มีเสียงดังซึ่งเรียกว่า "ฟ้าร้อง"


- เคลื่อนไหวด้วยความเร็วสูง


- สามารถทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต วัตถุ และสิ่งก่อสร้างได้ หรือปรากฏการณ์ฟ้าผ่า ทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้


- มีกลิ่นคล้ายกำมะถัน


จากการศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเครื่องประจุไฟฟ้าสถิตของออตโต ฟอน เกริเก (Otto von Guericke) และการสังเกตลักษณะของฟ้าแลบในเบื้องต้น แฟรงคลินได้สันนิษฐานการเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า ว่าน่าจะเกิดมาจากประจุไฟฟ้าบนท้องฟ้าแน่นอน แต่เพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น เขาจึงทำการทดลองครั้งแรกในปี ค.ศ. 1749 โดยใช้ว่าวที่ทำด้วยผ้าแพรแทนกระดาษ อีกทั้งมีเหล็กแหลมติดอยู่ที่ตัวว่าว ส่วนปลายสายป่านเขาได้ผูกลูกกุญแจเอาไว้ และผูกริบบิ้นไว้กับสายป่านอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นว่าวของแฟรงคลินก็จะเป็นตัวนำไฟฟ้า แฟรงคลินได้นำว่าวขึ้นในขณะที่มีฝนตกฟ้าคะนอง เมื่อฝนตกและทำให้สายป่านเปียก ผลปรากฏว่ามีประจุไฟฟ้าไหลลงมาทางเชือกเข้าสู่ลูกกุญแจ แต่แฟรงคลินไม่ได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้านั้น เนื่องมาจากเขาจับริบบิ้นซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้า จากนั้นเขาจึงลองใช้เศษหญ้าแห้งจ่อเข้ากับลูกกุญแจ ปรากฏว่าเกิดประจุไฟฟ้าไหลเข้าสู่มือเขา จากนั้นเขาก็นำลูกกุญแจวางลงพื้นดิน ก็เกิดประกายไฟฟ้าขึ้นอีก จากนั้นเขาจึงนำขวดเลเดน มาต่อเข้ากับกุญแจ ปรากฏว่าประจุไฟฟ้าไหลลงมาในขวด จากผลการทดลองแฟรงคลินสามารถสรุปถึงสาเหตุของการเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า ว่าเกิดขึ้นจากประจุไฟฟ้าบนท้องฟ้า ซึ่งเกิดจากการเสียดสีระหว่างก้อนเมฆกับอากาศ ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต จากการค้นพบประจุไฟฟ้าในอากาศครั้งนี้ นำไปสู่ความคิดในการประดิษฐ์สายล่อฟ้า เพื่อระบายประจุไฟฟ้าในอากาศไม่ทำให้เกิดความเสียหายจากฟ้าผ่า ในปี ค.ศ. 1752 แฟรงคลินได้ประดิษฐ์สายล่อฟ้าขึ้นสำเร็จเป็นครั้งแรก สายล่อฟ้าของแฟรงคลินมีลักษณะเป็นโลหะปลายแหลมผูกติดไว้บนยอดอาคารสูง ส่วนปลายโลหะเชื่อมต่อกับสายไฟยาวลงไปในแนวดิ่ง ห้ามคดหรืองอเด็ดขาด มิฉะนั้นอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ ปลายของสายไฟจะถูกฝังลึกลงในพื้นดินพอสมควร ซึ่งบริเวณด้านล่างของหลุมนี้จะมีแผ่นโลหะขนาดใหญ่ปูเอาไว้ เพื่อให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลลงมานั้นกระจายออกไปบนแผ่นโลหะนี้ สายล่อฟ้าของแฟรงคลินถือว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการป้องกันความเสียหายของอาคารสูง ที่มักจะถูกฟ้าผ่าได้ง่าย อีกทั้งผู้คนที่เดินไปมาตามท้องถนนไม่ให้ถูกฟ้าผ่าจนถึงแก่ชีวิตได้ การค้นพบครั้งนี้ยังทำให้แฟรงคลินได้ทราบเพิ่มเติมว่าประจุไฟฟ้ามี 2 ชนิด คือประจุไฟฟ้าบวก และประจุไฟฟ้าลบ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือแฟรงคลินไม่ได้นำสายล่อฟ้าสไปจดทะเบียนสิทธิบัตร เขาต้องการให้ทุกคนสามารถทำใช้กันเองได้ เนื่องจากสายล่อฟ้าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำได้ง่าย ไม่สลับซับซ้อนอะไรนัก และจากผลงานชิ้นนี้แฟรงคลินได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน (Royal Society of London) ด้วย ซึ่งสมาชิกราชสมาคมแห่งนี้ล้วนแล้วแต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถทั้งสิ้น เป็นต้นว่า โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) และเซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Issac Newton) เป็นต้น นอกจากผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว แฟรงคลินยังมีความสามารถอีกหลายด้าน เป็นต้นว่า นักเขียน นักการทูต นักการเมือง และนักหนังสือพิมพ์ แฟรงคลินได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐบุรุษคนสำคัญของประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยเขาเป็นผู้หนึ่งที่ทำให้สหรัฐฯ หลุดพ้นจากการเป็นประเทศอาณานิคมของประเทศอังกฤษ อีกทั้งเขายังเป็นผู้ร่างคำประกาศอิสรภาพอีกด้วย และเมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศอิสรภาพออกไป สร้างความไม่พอใจให้กับประเทศอังกฤษอย่างมาก ทำให้เกิดสงครามขึ้นแฟรงคลินได้มีบทบาทสำคัญในครั้งนี้ เขาได้เดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศส เพื่อขอการสนับสนุนเรื่องการเงินและอาวุธสงครามเมื่อสงครามยุติลง แฟรงคลินยังได้เป็นผู้หนึ่งที่ได้ลงนามในสัญญาสันติภาพ ภายหลังจากที่สหรัฐฯ ได้รับอิสรภาพแล้ว แฟรงคลินยังมีส่วนสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรก แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา แม้ว่าแฟรงคลินจะไม่ได้รับตำแหน่งสำคัญใด ๆ เลยทางด้านการเมืองเนื่องจากเขาชราภาพมากแล้ว แต่เขาก็เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของอเมริกา แฟรงคลินเสียชีวิตในวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1790 ถึงแม้ว่าเขาจะเสียชีวิตไปแล้ว แฟรงคลินยังได้สร้างคุณประโยชน์ไว้โดยการมอบทรัพย์สินส่วนหนึ่งเพื่อสร้างสาธารณประโยชน์ เช่น สร้างโรงเรียน ซ่อมแซมบ้านเรือนภายในเมืองบอสตัน และฟิลลาเดเฟีย และอีกส่วนหนึ่งยังใช้ในการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แฟรงคลิน ต่อมาในปี ค.ศ. 1900 เขาได้รับการยกย่องจากสถาบันแห่งชาติสหรัฐฯ ในฐานะบุคคลผู้สร้างคุณประโยชน์ให้กับบ้านเมือง

โรเบิร์ต บอยล์ : Robert Boyle



เกิด วันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1627 ที่เมืองมันสเตอร์ (Munster) ประเทศไอร์แลนด์ (Ireland)


เสียชีวิต วันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1691 กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)


ผลงาน - ตั้งกฎของบอยล์ (Boyle's Law) ว่าด้วยเรื่องความดันอากาศ


บอยล์เป็นนักเคมีคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยนักวิทยาศาสตร์ผู้นี้เป็นผู้บุกเบิกงานด้านเคมีอย่างจริงจัง ผลงานของเขามีประโยชน์มากต่อวงการวิทยาศาสตร์ เป็นต้นว่า กรค้นพบธาตุ การเผาไหม้ของโลหะ อีกทั้งเขาเป็นผู้ปรับปรุงเทอร์มอมิเตอร์ให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และประดิษฐ์หลอดแก้วสุญญากาศ ไม่เฉพาะงานด้านเคมีเท่านั้นที่สร้างชื่อเสียงให้กับบอยล์ งานด้านฟิสิกส์เขาก็มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเรื่องกฎของบอยล์ เป็นทฤษฎีที่สร้างคุณประโยชน์มากมาย และเป็นรากฐานของการประดิษฐ์เครื่องยนต์ชนิดต่าง ๆ หลายชนิดเช่น เครื่องจักรไอน้ำ เครื่องพ่นลม เครื่องยนต์ที่ใช้แรงกดดันของก๊าซและเครื่องยนต์แบบจุดระเบิดภายใน บอยล์เกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1627 ที่เมืองมันสเตอร์ ประเทศไอร์แลนด์ บอยล์เป็นบุตรชายคนสุดท้ายของท่านเอิร์ลแห่งคอร์ด (Earl of Cord) ซึ่งเป็นขุนนางผู้มั่งคั่ง ทำให้บอยล์มีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดี และมีโอกาสได้ศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเต็มที่เนื่องจากบิดาของเขาก็ชื่นชอบเรื่องวิทยาศาสตร์เช่นกัน บอยล์ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่วิทยาลัยอีตัน (Eton College) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนนี้เขาได้ศึกษาภาษาอังกฤษ ละติน และฝรั่งเศส นอกจากนี้เขาได้เรียนภาษากรีก และฮิบรูด้วย เมื่อบอยล์อายุได้ 14 ปี บิดาของเขาได้ส่งเขาไปเรียนภาษาอิตาลี ที่ประเทศอิตาลี ระหว่างที่บอยล์ได้เรียนที่ประเทศอิตาลี เขามีโอกาสได้อ่านหนังสือวิทยาศาสตร์เล่มหนึ่งชื่อว่า เรื่องประหลาดของนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่เขียนโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ทำให้เขามีความสนใจในเรื่องวิทยาศาสตร์ และตั้งใจว่าจะต้องเรียนต่อในวิชาวิทยาศาสตร์ต่อไป บอยล์เดินทางกลับประเทศไอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1644 ปรากฏว่าบิดาของเขาเสียชีวิตพร้อมกับทิ้งมรดกเป็นที่ดิน และปราสาทในสตอลบริดจ์เซทไซร์ (Stallbridge Doe Setshire)ไว้ให้เขา บอยล์ได้เดินทางกลับไปที่ประเทศอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง เพื่อศึกษาต่อในวิชาวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด (Oxfoerd University) หลังจากจบการศึกษา บอยล์ได้กลับบ้านและทำการทดลองค้นคว้าอย่างจริงจัง งานชิ้นแรดที่บอยล์ให้ความสนใจคือ ผลึกเพราะบอยล์ต้องการหาส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ จากการศึกษาบอยล์พบว่า ผลึกบางชนิดเกิดจากส่วนผสมและสารประกอบทางเคมีบางชนิด ต่อมาเขาเริ่มศึกษาเกี่ยวกับเครื่องวัดความกดอากาศ จากผลงานของนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน โดยเริ่มต้นจากเทอร์มอมิเตอร์ของกาลิเลโอ แต่เทอร์มอมิเตอร์ชนิดนี้ใช้น้ำในการวัดซึ่งยังวัดอุณหภูมิได้ไม่ถูกต้องแม่นยำนัก บอยล์ได้นำเทอร์มอมิเตอร์ของกาลิเลโอมาปรับปรุงให้มีประสิทะภาพมากขึ้นโดยใช้ปรอทแทนน้ำ ต่อมาบอยล์ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับความกดอากาศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังถกเถียงกันอยู่ในเวลานั้นว่า อากาศมีน้ำหนักหรือไม่และสภาพไร้อากาศหรือสุญญากาศเป็นไปได้หรือไม่ ในปี ค.ศ. 1657 บอยล์ได้อ่านหนังสือของนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันท่านหนึ่งชื่อว่าออตโต ฟอน เกริเก (Otto von Guericke) เกี่ยวกับเครื่องสูบอากาศที่เขาประดิษฐ์ขึ้น บอยล์ได้นำเครื่องสูบอากาศของเกริเกมาใช้ในการทดลองเกี่ยวกับความดันอากาศ โดยร่วมมือกับโรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) และในปี ค.ศ. 1659 เขาก็สามารถปรับปรุงเครื่องสูบอากาศของเกริเกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้นำเครื่องสูบอากาศนี้มาใช้ในการทดลองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างก๊าซกับความดัน นอกจากนี้เขาได้สร้างห้องทดลองสุญญากาศขึ้นด้วย ในการทดลองครั้งแรกบอยล์ได้นำบารอมิเตอร์ใส่ลงไปในห้องทดลองสุญญากาศ จากนั้นเขาจึงใช้เครื่องสูบอากาศสูบอากาศในห้องทดลองออกทีละน้อย ๆ ปรากฏว่าปรอทในบารอมิเตอร์สูงขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งสูบอากาศออกไปมากเท่าไรปรอทก็ยิ่งสูงขึ้นนอกจากนี้บอยล์ยังได้แขวนนาฬิกาไว้ในห้องนั้น เมื่อนาฬิกามีเสียงดังขึ้นเพียงครั้งเดียวก็หายไป แสดงให้เห็นว่าเมื่อไม่มีอากาศเสียงก็ไม่สามารถดังได้ จากการทดลองครั้งนี้บอยล์สรุปว่าอากาศมีแรงดัน และเสียงไม่สามารถเดินทางได้ในที่ที่ไม่มีอากาศ ผลจากการทดลองครั้งนี้บอยล์ได้นำมาตั้งเป็นกฎชื่อว่า กฎของบอยล์ (Boyle's Law) กฎนี้กล่าวว่า ถ้าปริมาตรของก๊าซคงที่ อุณหภูมิของก๊าซจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นปฏิภาคกลับกันกับความดัน หรือถ้าปริมาตรของก๊าซคงที่ ความดันคงที่ อุณหภูมิก็จะคงที่ สามารถสรุปกฎข้อนี้ได้ว่าปริมาตรของก๊าซจะเพิ่ม - ลด ในอัตราส่วนที่เท่ากันเสมอ เช่น ถ้าเพิ่มความกดดันขึ้นเป็น 1 เท่า ปริมาตรของอากาศจะลดลง 1 เท่า แต่ถ้าเพิ่มความกดดันเป็น 2 เท่า ปริมาตรของอากาศจะลดลงเป็น 2 เท่า ซึ่งกฎของบอยล์เป็นกฎที่ได้รับการยกย่องกันมากในวงการฟิสิกส์ บอยล์ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ในปี ค.ศ. 1660 โดยใช้ชื่อหนังสือว่า NewExperiment Physic Mechanical, Touching the spring of the Air, and its Effects เมื่อหนังสือเผยแพร่ออกไปกลับได้การ ตอบรับที่ไม่ดีนัก คนส่วนใหญ่มักเห็นว่ากฎของบอยล์เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นเขาจึงทำแสดงการทดลองครั้งใหญ่เพื่อแสดงให้คนได้เห็นความจริงข้อนี้ โดยการสร้างหลอดแก้วรูปตัวเจที่มีขนาดความสูงถึง 12 ฟุต ส่วนปลายที่งอขึ้นมีความสูง 5 ฟุต ปิดทางส่วนปลายไว้ แล้วนำไปติดตั้งไว้บริเวณบันไดบ้านของเขา จากนั้นจึงเริ่มทำการทดลองโดยการเทปรอทใส่ลงในหลอดแก้ว ในขั้นต้นปริมาณปรอทอยู่ในระดับที่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง จากนั้นจึงเทปรอทเข้าไปในส่วนบนแล้วรีบผิดฝา และทำซ้ำเหมือนเช่นนั้นอีกหลายครั้งจนเห็นได้ชัดเจนว่าปรอทในข้างที่งอขึ้นมีระดับของปรอท สูงกว่าอีกด้านหนึ่ง ผลการทดลองครั้งนี้ทำให้ผู้ที่มาเฝ้าดูการทดลองครั้งนี้เห็นและเข้าใจในกฎของบอยล์ ในปี ค.ศ. 1661 บอยล์ได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า The Sceptical Chemist ซึ่งมีเนื้อหาต่อต้านทฤษฎีของอาริสโตเติลในเรื่องของส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ อาริสโตเติลกล่าวว่าธาตุทั้งหลายในโลกประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลม และไฟรวมถึงทฤษฎีของพาราเซลลัสที่ว่าธาตุประกอบไปด้วย ปรอท กำมะถัน และเกลือ บอยล์มีความเชื่อว่าธาตุทั้งหลายในโลก ประกอบไปด้วยสารประกอบที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องได้รับการทดสอบเสียก่อนจึงจะรู้ได้ว่าธาตุชนิดนั้นประกอบไปด้วยสารชนิดใดบ้าง ไม่ใช่ตามทฤษฎีของอาริสโตเติลและพาราเซลลัส หนังสือของบอยล์เล่มนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากผู้คนที่เคยมี ความเชื่อถือในทฤษฎีเก่าของอาริสโตเติล เมื่อได้อ่านหนังสือของบอยล์แล้วก็มีความคิดที่เปลีรี่ยนไป ต่อมานักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังได ้นำวิธีการของบอยล์ไปทดลอง ก็สามารถค้นพบธาตุใหม่ ๆ อีกจำนวนกว่า 100 ชนิด บอยล์ไม่ได้หยุดยั้งการค้นคว้าของเขาเพียงเท่านี้ เขายังทำการทดลองวิทยาศาสตร์ในแขนงอื่น ๆ อีกหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตและเสียง ในเรื่องของความเร็วของเสียงตั้งแต่ต้นกำเนิดจนถึงปลายทาง และโครงสร้างของผลึกต่าง ๆส่วนวิชาเคมีบอยล์ก็ยังให้ความสนใจและทำการทดลองค้นคว้าอยู่เสมอ ซึ่งการทดลองครั้งหนึ่งของบอยล์ เกือบทำให้เขาค้นพบก๊าซออกซิเจน แต่เขาก็พบว่าสัตว์รวมถึงมนุษย์ด้วยไม่สามารถขาดอากาศได้ เพราะเมื่อใดที่ขาดอากาศก็จะต้องเสียชีวิต และกำมะถัน ก็ไม่สามารถลุกไหม้ในสภาพสุญญากาศได้ ในปี .ศ. 1666 บอยล์ได้ตีพิมพ์หนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Hydrostatics Paradoxes ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความถ่วง จำเพาะของวัตถุ บอยล์ได้ศึกษาเกี่ยวกับอะตอมของสาร เขาได้สรุปสมบัติอะตอมของสารไว้ว่า อะตอมของสารต่างชนิดกันจะมีการเคลื่อนที่แตกต่างกัน และได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Original of Forms Qualities According to the Corpuscular Philosophy บอยล์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถในหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นเคมี เขาก็ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาเคมี ด้านฟิสิกส์ก็ได้รับการยกย่องมากจากการค้นพบกฎของบอยล์ และการประดิษฐ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์อย่างเทอร์มอมิเตอร์ และบารอมิเตอร์ บอยล์ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งเขาเสียชีวิตในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1691 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

หลุยส์ ปาสเตอร์ : Louis Pasteur



เกิด วันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโดล (Dole) มลรัฐจูรา (Jura) ประเทศฝรั่งเศส (France)


เสียชีวิต วันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1895 ประเทศฝรั่งเศส (France)


ผลงาน - ค้นพบวัคซีนป้องกันพิษสุนัขป่า


- ค้นพบว่า จุลินทรีย์เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย


- ค้นพบวิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์โดยการนำมาต้มหรือเรียกว่า พาลเจอร์ไรเซชัน(Pasteurization


ปาสเตอร์เป็นนักเคมีผู้ยิ่งใหญ่ชาวฝรั่งเศส ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขา และคุณประโยชน์อย่างมากให้กับศาธารณชน คือ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้เป็นโรคระบาดที่รุนแรง แต่ก็สามารถคร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมากเช่นกันนอกจากนี้เขายังค้นพบวัคซีนอีกหลายชนิด ได้แก่ อหิวาตกโรค วัณโรค และโรคคอตีบ ผลงานของเขาที่สร้างคุณประโยชน์อย่างมากอีกชิ้นหนึ่ง คือ การค้นพบวิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แบบพาสเจอร์ไรต์ ในปัจจุบันวิธีการนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดเพราะสามารถเก็บรักษาอาหารได้นานและปลอดภัยมากที่สุด ปาสเตอร์เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโดล มลรัฐจูรา ประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาเป็นช่างฟอกหนังชื่อว่า จีน โจเซฟ ปาสเตอร์ (Jean Joseph Pasteur) และเคยเป็นทหารในกองทัพของพระเจ้านโปเลียนมหาราช และได้รับเหรียญกล้าหาญจากสงครามด้วย ต่อมาครอบครัวของปาสเตอร์ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองอาร์บัวส์ (Arbors) แม้ว่าฐานะครอบครัวของเขาจะมีฐานะไม่ดีนัก แต่บิดาก็ต้องการให้หลุยส์มีความรู้ที่ดี การศึกษาขั้นแรกของปาสเตอร์เริ่มต้นที่โรงเรียนประจำจังหวัดอาร์บัวส์ซึ่งวิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่เขาเรียนได้ดีที่สุด นอกจากนี้เขามีความสามารถในการวาดรูปอีกด้วย โดยเฉพาะภาพเหมือน (Portrait) เขามีความชำนาญมากที่สุดรูปเหมือนที่ปาสเตอร์ได้วาด เช่น ภาพบิดา มารดา และเพื่อน ๆ ของเขา เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันภาพเหล่านี้ได้ถูกแขวนประดับไว้ในสถาบันปาสเตอร์ ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส (The Pasteur Institute in Paris)ด้วยความที่ปาสเตอร์เป็นนักเรียนที่เรียนดี มีความสามารถ และความประพฤติเรียบร้อย จึงได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ใหญ่ของวิทยาลัยอาร์บัวส์ให้ไปเรียนที่อีโคล นอร์เมลซูพีเรีย (Ecole Normale Superiere) ซึ่งเป็นสถาบันฝึกหัดครูชั้นสูงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในกรุงปารีสด้วยอาจารย์ใหญ่ต้องการให้เขากลับมาเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยอาร์บัวส์นั่นเอง แต่ปาสเตอร์เรียนอยู่ที่นี่ ได้ไม่นาน บิดาก็ต้องมารับกลับบ้าน ด้วยเขาป่วยเป็นโรคคิดถึงบ้าน (Home Sick) อย่างรุนแรง ซึ่งอาจจะถึงขั้นเป็นโรคประสาทได้ในเวลาต่อมา ต่อมาเขาได้เข้าเรียนต่อวิชาอักษรศาสตร์ ที่รอยับลคอลเลจ (Royal College) ในเบซานกอน (Besancon) หลังจากจบการศึกษาแล้ว ปาสเตอร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ต่อจากนรั้นปาสเตอร์ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่สถาบันฝึกหัดครูชั้นสูง Ecole Normale Superiere อย่างที่เขาตั้งใจในครั้งแรก ในระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ที่นี่เขามีโอกาสได้เรียนวิชาเคมีกับนักเคมี ผู้มีชื่อเสียง 2 ท่าน คือ เจ.บี. ดีมาส์ (J.B. Dumas) และ เอ.เจ. บาลาร์ด ซึ่งสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (SorbonneUniversity) เนื่องจากมีบางวิชาที่ต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ในช่วงปีสุดท้ายของการศึกษาที่ อีโคล นอร์เมล ซูพเรียเขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับผลึก (Crystallography) ในปี ค.ศ. 1852 เมื่อปาสเตอร์จบการศึกษาแล้ว เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับกรดทาร์ทาริก หรือกรดปูนที่ใช้ทำน้ำส้ม (Tartaric acid) จากผลงานการทดลองชิ้นนี้ในปี ค.ศ. 1849 เขาได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยสตราส์เบิร์ก (Strasburg University) ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาเคมี ต่อจากนั้นในปี ค.ศ. 1854 ปาสเตอร์ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยแห่งเมืองลิลล์ (University of Lille) ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์วิชาเคมีและคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ด้วยความที่เมืองลิลล์เป็นเมืองอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีทั้งเหล้าเบียร์ และไวน์ และครั้งหนึ่งปาสเตอร์ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานทำแอลกอฮอล์จากน้ำตาลหัวผักกาดแห่งหนึ่ง ทำให้เขารู้ปัญหาของโรงงานที่ว่าเกิดการเน่าเสียของแอลกอฮอล์ และยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ ดังนั้นปาสเตอร์จึงนำตัวอย่างแอลกอฮอล์ไปตรวจสอบในขณะนั้นมีนักวิทยาศาสต์ท่านหนึ่งสามารถประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ได้สำเร็จ เขาจึงนำกล้องจุลทรรศน์มาใช้ในการตรวจสอบครั้งนี้ด้วย โดยในส่วนแรกเป็นแอลกอฮอล์ที่ดีเมื่องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูปรากฏว่า มีแบคทีเรียชนิดหนึ่งลำตัวกลมมีชื่อว่า ยีสต์ (Yeast) ซึ่งมีฤทธิ์เปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นแอลกอฮอล์และได้พบแบคทีเรียอีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างเป็นท่อน ๆ แบคทีเรียชนิดนี้มีชื่อว่า บาซิลลัส (Bacillus) ซึ่งมีฤทธิ์สามารถเปลี่ยนน้ำตาลแดงให้เป็นกรดแลคติกได้ หรือเป็นตัวการที่ทำให้แอลกอฮอล์มีคุณภาพต่ำ จากการค้นพบครั้งนี้ทำให้ปาสเตอร์เริ่มทำการทดลองเกี่ยวกับของหมักดอง ในที่สุดปาสเตอร์ได้พบว่า การหมักดองทำให้เกิดกรดขึ้น 2 ชนิด ได้แก่ กรดซักซินิก (Succinic acid) และกลีเซอร์ไรน์ (Glycerin) การค้บพบครั้งนี้มีประโยชน์อย่างมากในวงการอุตสาหกรรมและเป็นการบุกเบิกการค้นคว้าหาสารเคมีชนิดต่าง ๆ มากขึ้น ปาสเตอร์ได้ตั้งทฤษฎีการหมักดอง (Fermentation Theory) กล่าวว่า การหมักดองเป็นผลมาจากจุลินทรีย์ เมื่อเขาค้นพบว่าจุลินทรีย์ทำให้เกิดผลเสียมากมาย ปาสเตอร์จึงทำการค้นคว้าเกี่ยวกับจุลินทรีย์ต่อไป และพบว่า จุลินทรีย์ ที่มีอยู่ทั่วไปในอากาศทำให้เกิดความเจ็บป่วย และอาหารรวมถึงนมเน่าเสียได้ง่ายมาก เพราะฉะนั้นวิธีการเก็บรักษาของให้อยู่ได้นาน ๆ ก็คือ ต้องฆ่าจุลินทรีย์เหล่านี้ให้หมดไป ปาสเตอร์ได้ทดลองฆ่าเชื่อจุลินทรีย์ โดยการนำนมมาต้มในความร้อน 145 องศาฟาเรนไฮต์ ทำให้เย็นลงโดยเร็วที่สุด ภายใน ? ชั่วโมง เพื่อให้จุลินทรีย์ตายหมด ก่อนนำไปบรรจุใส่ขวด จากนั้นใช้สำลีอุดปากขวด ให้แน่นป้องกันไม่ใช้เชื้อจุลินทรีย์เข้าได้ ผลปรากฎว่านมสดอยู่ได้นานกว่าปกติ โดยที่ไม่เน่าเสีย จากนั้นปาสเตอร์ได้นำวิธีการดังกล่าวไปใช้กับเครื่องดื่มชนิดอื่น เช่น เหล้า เบียร์ น้ำกลั่น และไวน์ เป็นต้น วิธีการนี้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ พาสเจอร์ไรเซชัน(Pasteurization) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากการค้นคว้าทดลองครั้งนี้ปาสเตอร์ยังพบวิธีการทำน้ำส้มสายชูโดยใช้จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดเหล้าองุ่นมาเพาะ แล้วเติมลงไปในเหล่าองุ่นที่ผ่านวิธีพาสเจอร์ไรต์แล้วด้วยวิธีการนี้จะได้น้ำส้มสายชูที่มีคุณภาพดี การค้นคว้าเรื่องจุลินทรีย์ของปาสเตอร์ไม่ได้หยุดแต่เพียงเท่านี้ ในปี ค.ศ. 1865 เขาพบถึงสาเหตุของเซลล์ที่ตายแล้วเน่าเปื่อย ก็เป็นผลมาจากเชื้อจุลินทรีย์เช่นเดียวกัน ดังนั้นเขาจึงทำการทดลองต่อไป ด้วยปาสเตอร์กลัวว่าเมื่อฝังศพทั่งของสัตว์ และมนุษย์ลงในดินแล้ว ทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นลงไปอยู่ในดินได้และอาจจะปนเปื้อนไปกับน้ำบาดาล เมื่อคนนำน้ำบาดาลไปดื่มโดยที่ไม่ต้องต้มฆ่าเชื่อก่อน อาจจะทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ เมื่อการค้นคว้าของปาสเตอร์จบสิ้นลงผลปรากฏว่าเป็นดังเช่นที่ปาสเตอร์กล่าวไว ้คือมีจุลินทรีย์บางชนิดสามารถอยู่ในดินได้จริง เช่น เชื้อบาดทะยัก และแอนแทรกซ์ เป็นต้น ต่อมาเขาได้ทดลองเกี่ยวกับโรคระบาดที่ร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับตัวไหม ซึ่งทำความเสียหายอย่างหนักให้กับโรงงานอุตสาหกรรมผ้าไหม เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมได้มาขอความช่วยเหลือจากปาสเตอร์ เขาได้ทำการค้นคว้าเรื่องนี้อยู่นางถึง 5 ปี จึงพบว่าโรคนี้เกิดขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์ชื่อว่า โนสิมา บอมบายซิล (Nosema Bombysis) ซึ่งตัวหนอนกินเข้าไป ดังนั้นปาสเตอร์จึงอธิบายวิธีการป้องกันโรคนี้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมฟังอย่างละเอียด ซึ่งสามารถป้องกันโรคนี้ได้เป็นอย่างดี จากผลงานทาวิทยาศาสตร์วิชาเคมีที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne University) และในปีเดียวกันนี้เขาได้เผยแพร่ผลงานการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องการ หมักดองออกมาอีกเล่มหนึ่งจากความสามารถของปาสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1873 เขาได้เชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมอะเคดามี ออฟ เมดิซีน (Academy of Medicine) ในปี ค.ศ. 1887 ปาสเตอร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับโรคระบาดในสัตว์ โดยเริ่มจากโรคที่ร้ายแรงที่สุด คือ โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) ปาสเตอร์ใช้ปัสสาวะของสัตว์ที่ป่ายเป็นโรคแอนแทรกซ์มาเพาะเชื้อให้อ่อนกำลังลง แล้วไปทำวัคซีน การที่เขานำปัสสาวะของสัตว์มาทำวัคซีนทำให้คนทั่วไปไม่เชื่อถือในวัคซีนของเขา ปาสเตอร์ต้องการให้สาธารณชนประจักษ์แก่สายตาจึงทำการทดลอง ปาสเตอร์ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมเกษตร (Agriculture Society) มอบแกะในการทดสอบวัคซีนถึง 50 ตัว ปาสเตอร์แบ่งแกะออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 ตัว กลุ่มหนึ่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้ฉีด จากนั้นจึงฉีดเชื้อโรคแอนแทรกซ์ให้กับแกะทั้งหมด ผลปรากฏว่าแกะกลุ่มที่ฉีดวัคซีนไม่ป่วยเป็นโรคแอนแทรกซ์เลย แต่แก่กลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป่วยและเสียชีวิตหมดทุกตัว จากผลงานการค้นคว้าชิ้นนี้ ทางรัฐบาลประเทศฝรั่งเศสได้ขอร้องและมอบเงินสนับสนุนให้กับปาสเตอร์ในการค้นคว้าหาวัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรคในไก่ ปาสเตอร์ทำการทดลองค้นคว้าและสามารถผลิตวัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรคในไก่ได้สำเร็จโดยเขาผลิตวัคซีนชนิดนี้ได้จากซุปกระดูกไก่ ปาสเตอร์ได้นำวัคซีนชนิดนี้ได้จากซุปกระดูกไก่ ปาสเตอร์ได้นำวัคซีนฉีดให้กับไก่ ปรากฏว่าไก่ที่ป่วยมีอาการดีขึ้นและหายไปในที่สุด การค้นพบวัคซีนที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากที่สุด คือ วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าน แม้ว่าจะไม่ใช่โรคระบาดที่ร้ายแรงแต่ก็สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนได้มากเพราะเมื่อผู้ใดที่ถูกสุนัขบ้ากัดแล้วต้องเสียชีวิตทุกรายไป สัตว์ที่ป่วยด้วยโรคนี้ก็ต้องตายโดยไม่มีวิธีรักษาหรือป้องกัน จากการค้นคว้าปาสเตอร์พบว่าเชื้อสุนัขบ้าอยู่ในน้ำลาย ดังนั้นเมื่อถูกน้ำลายของสุนัขที่มีเชื้อโรคอยู่ไม่ว่าจะทางใด เช่น ถูกเลียบริเวณที่เป็นแผล หรือถูกกัด เป็นต้น เชื้อโรคในน้ำลายก็จะซึมเาไปทางแผลสู่ร่างกายได้ ปาสเตอร์ได้นำเชื้อมาเพาะวัคซีน และนำไปทดลองกับสัตว์ ปรากฏว่าได้ผลเป็นอย่างดี แต่ปาสเตอร์ไม่กล้านำมาทดลองกับคน จนกระทั่งวันหนึ่งโจเวฟเมสเตร์ เด็กชายวัย 9 ปี ถูกสุนัขบ้ากัด ถึงอย่างไรก็ต้องเสียชีวิต ดังนั้นพ่อแม่ของเด็กจึงได้นำบุตรชายมาให้ปาสเตอร์รักษาซึ่งเป็นโอกาสดีที่ปาสเตอร์จะได้ทดลองยา ปรากฏว่าเด็กน้อยไม่ป่วยเป็นโรคสุนัขบ้าน การค้นพบครั้งนี้ทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในปี ค.ศ. 1888 ปาสเตอร์ได้ก่อตั้งสถาบันปาสเตอร์ (Pasteur Institute) ขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จากนั้นสถาบันปาสเตอร์ก็ได้ก่อตั้งขึ้นอีกหลายแห่ง ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยด้วย โดยในประเทศไทยใช้ชื่อว่า สถานเสาวภาสถาบันปาสเตอร์ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคติดต่อชนิดต่าง ๆ เช่นโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้นปาสเตอร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1895

กาลิเลโอ กาลิเลอี : Galileo Galilei



เกิด วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 ที่เมืองปิซา (Pisa) ประเทศอิตาลี (Italy)


เสียชีวิต วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1642 ที่เมืองฟลอเรนซ์ (Florence) ประเทศอิตาลี (Italy)


ผลงาน - ค.ศ. 1584 ตั้งกฎเพนดูลัม (Pendulum) หรือกฎการแกว่างของนาฬิกาลูกตุ้ม


- ค.ศ. 1585 ตีพิมพ์หนังสือชื่อว่า Kydrostatic Balance และ Centre of Gravity


- ค.ศ. 1591 พิสูจน์ทฤษฎีของอาริสโตเติลที่ว่าวัตถุที่มีน้ำหนักเบาว่าผิด อันที่จริงวัตถุจะตกถึงพื้นพร้อมกันเสมอ


- พัฒนากล้องโทรทรรศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถส่องดูดาวบนจักรวาลได้


- พบลักษณะพื้นผิวของดวงจันทร์


- พบว่าดาวมีหลายประเภท ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ได้แก่ ดาวเคราะห์ และดาวฤกษ์


- พบทางช้างเผือก (Milky Way)


- พบบริวารของดาวพฤหัสบดี ว่ามีมากถึง 4 ดวง


- พบวงแหวนของดาวเสาร์ ซึ่งปากฎว่ามีสีถึง 3 สี


- พบว่าพื้นผิวของดาวศุกร์มีลักษณะคล้ายกับดวงจันทร์


- พบจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sun Spot)


- พบดาวหาง 3 ดวง


กาลิเลโอเป็นนักวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของโลก โดยเฉพาะผลงานด้านดาราศาสตร์เป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุด การทดลองและการค้นพบของเขามีประโยชน์มากมายหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ เช่น พบจุดดับบนดวงอาทิตย์ พบบริวารของดาวพฤหัสบดี เป็นต้น การพบลักษณะการแกว่งของวัตถุซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นเครื่องจับเวลา และนาฬิกาลูกตุ้ม อีกทั้งการที่เขาสามารถพัฒนาสร้างกล้องโทรทรรศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้วิชาการด้านดาราศาสตร์มีความเจริญก้าวหน้า อีกทั้งเขายังเป็นบุคคลที่มีความกล้าหาญอย่างมากในการเสนอแนวความคิด ต่าง ๆ เกี่ยวกับทฤษฎีดั้งเดิมที่ผิดของอาริสโตเติล ซึ่งนำความเดือดร้อนมาให้กับเขาเอง ทั้งการถูกต้องขังและถูก กล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตต่อต้านคำสั่งสอนทางศาสนา ซึ่งเกือบจะต้องเสียชีวิตถ้าเขาไม่ยอมรับความผิดอันนี้ แม้ว่าเขาจะต้อง ยอมรับผิด แต่เขาก็ไม่หยุดทำการค้นคว้าและการทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่อไป กาลิเลโอมักมีแนวความคิดที่แตกต่างไปจากคนอื่นเสมอ เขาจะไม่ยอมเชื่อทฤษฎีต่าง ๆ ที่ได้รับการเผยแพร่ออกมาทั้งในอดีตและในยุคนั้น กาลิเลโอต้องทำการทดลอง เสียก่อนที่จะเชื่อถือในทฤษฎีข้อนั้น และด้วยนิสัยเช่นนี้ทำให้เขาได้รับฉายาว่า The Wrangler ฉายาของกาลิเลโออันนี้ในปัจจุบัน ได้ใช้หมายถึง "ผู้เชี่ยวชาญ" ในมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด (Oxford University) และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์(Cambridge University) กาลิเลโอเกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 ที่เมืองปิซา ประเทศอิตาลี บิดาของเขาเป็นขุนนาง นักคณิตศาสตร์ นักดนตรีและนักเขียน ที่มีชื่อเสียงอยู่พอสมควร บิดาของเขามีชื่อว่า วินเซนซิโอ กาลิเลอี (Vincenzio Galilei) กาลิเลโอเข้ารับการศึกษา ขั้นต้นที่เมืองปิซานั่นเอง กาลิเลโอเป็นนักเรียนที่เฉลียวฉลาด และมีความสามารถหลายด้าน ทั้งวาดภาพ เล่นดนตรี และคณิตศาสตร์ บิดาของกาลิเลโอต้องการให้เขาศึกษาต่อในวิชาแพทย์ ด้วยเป็นอาชีพที่ได้รับการยกย่อง กาลิเลโอได้ปฏิบัติตามที่บิดาต้องการ คือ เข้าเรียนในวิชาการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยปิซา (Pisa University) แต่กาลิเลโอมีความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์มากกว่า จนกระทั่งครั้งหนึ่งกาลิเลโอมีโอกาสได้เข้าฟังการบรรยายวิชาคณิตศาสตร์ ทำให้เขาเลิกเรียนวิชาแพทย์ และไปเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์แทน การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกของกาลิเลโอเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1584 เมื่อเขากำลังนั่งฟังสวดมนต์อยู่ในโบสถ์แห่งหนึ่ง เขาสังเกตเห็นโคมแขวนบนเพดานโบสถ์แกว่างไปแกว่างมา เขาจึงเกิดความสงสัยว่าการแกว่งไปมาของโคมในแต่ละรอบใช้เวลา เท่ากันหรือไม่ ดังนั้นเขาจึงทดลองจับเวลาการแกว่งไปมาของโคม โดยเทียบกับชีพจรของตัวเอง เนื่องจากเขาเคยเรียนวิชาแพทย์ ทำให้เขารู้ว่าจังหวะการเต้นของชีพจรของคนในแต่ละครั้งนั้นใช้เวลาเท่ากัน ผลปรากฎว่าไม่ว่าโคมจะแกว่งในลักษณะใดก็แล้วแต่ ระยะเวลาในการแกว่งไปและกลับครบ 1 รอบ จะเท่ากันเสมอ เมื่อเขากลับบ้านได้ทำการทดลองแบบเดียวกันนี้อีกหลายครั้ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าทฤษฎีที่เขาจะตั้งขึ้นถูกต้องที่สุด ซึ่งผลการทดลองก็เหมือนกันทุกครั้ง กาลิเลโอได้ตั้งชื่อทฤษฎีนี้ว่ากฎเพนดูลัม (Pendulum) หรือ กฎการแกว่งของนาฬิกาลูกตุ้ม กาลิเลโอได้นำหลักการจากการทดลองครั้งนี้มาสร้างเครื่องจับเวลาซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1656 คริสเตียน ฮฮยเกนส์ (Christian Huygens) ได้นำทฤษฎีนี้มาสร้างนาฬิกาลูกตุ้ม ต่อมาในปี ค.ศ. 1585 กาลิเลโอได้ลาออกจากมหาวิทยาลัย เพราะไม่มีเงินพอสำหรับการเรียนต่อ เขาได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ (Florence) และได้เข้าศึกษาต่อที่สถาบันฟลอเรนทีน (Florentine Academy) ในระหว่างนี้กาลิเลโอ ได้เขียนหนังสือขึ้นมา 2 เล่ม เล่มแรกชื่อว่า Hydrostatic Balance เป็นเรื่องเกี่ยวกับตาชั่ง ส่วนอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Centre of Gravity เป็นเรื่องเกี่ยวกับจุดศูนย์ถ่วงของของแข็ง เล่มที่ 2 นี้เขาเขียนเนื่องจากมาร์เชส กวิดูบาลโด เดล มอนเต แห่งเปซาโร(Marchese Guidubald Del Monte of Pasaro) ซึ่งเป็นผู้ที่มีพระคุณต่อเขา ขอร้องให้เขียนขึ้น จากหนังสือทั้ง 2 เล่มนี้เองทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น และในปี ค.ศ. 1588 กาลิเลโอได้รับการติดต่อให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชา คณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยปิซา ในปี ค.ศ. 1591 ระหว่างที่กาลิเลโอเข้าทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยปิซา เขาได้นำทฤษฎีของอาริสโตเติล มาทดสอบเพื่อหาข้อเท็จจริง ทฤษฎีที่ว่านี้ คือ ทฤษฎีที่มีน้ำหนักมากกว่าจะตกถึงพื้นก่อนวัตถุที่มีน้ำหนักเบา แต่เมื่อกาลิเลโอทดลองแล้วปรากฏว่าวัตถุที่มีน้ำหนักมากและวัตถุที่มีน้ำหนักเบา จะตกถึงพื้นพร้อมกัน แต่การที่อาริสโตเติล สรุปทฤษฎีเช่นนี้เป็นผลเนื่องมาจากอากาศได้ช่วยพยุงวัตถุที่มีน้ำหนักเบาได้มากกว่าวัตถุที่มีน้ำหนักมากกว่า แต่ถ้าทำการทดลอง ในสุญญากาศจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าวัตถุตกถึงพื้นพร้อมกัน กาลิเลโอได้นำความจริงข้อนี้ไปชี้แจงกับทางมหาวิทยาลัย ผลปรากฏว่า มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เขาจึงทำการทดลองอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ทุกคนเห็นอย่างชัดเจน โดยนำก้อนตะกั่ว 2 ก้อน ก้อนหนึ่งหนัก 10 ปอนด์ อีกก้อนหนึ่งหนัก 20 ปอนด์ ทิ้งลงมาจากหอเอนปิซาพร้อมกัน ผลปรากฏว่าก้อนตะกั่วทั้ง 2 ก้อนตกถึงพื้นพร้อมกัน จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีของอาริสโตเติลผิด และของกาลิเลโอถูกต้อง แต่ถึงอย่างนั้นกลุ่มคนที่ยึดถือทฤษฎีของ อาริสโตเติลอย่างเหนียวแน่นก็ยังไม่เชื่อกาลิเลโออยู่ดี อีกทั้งหาทางกลั่นแกล้งจนกาลิเลโอ ต้องลาออกจากมหาวิทยาลัยปิซา หลังจากที่กาลิเลโอลาออกจากมหาวิทยาลัยปิซาแล้ว เขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย ปาดัว (Padua University) ในระหว่างนี้กาลิเลโอได้ทำการทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์หลายเรื่อง เริ่มตั้งแต่ ทำการทดลองเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตกของวัตถุ ซึ่งเขาพบว่าในระหว่างที่วัตถุตกลงสู่พื้นนั้น ความเร็วของวัตถุจะเพิ่มขึ้นทุกวินาที การทดลองนี้ทางการทหารได้นำไปใช้ในการคำนวณหาเป้าหมายของลูกปืนใหญ่ หลักเกณฑ์ทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ ของวัตถุนี้ทำให้ เกิดวิชาที่เรียกว่า "พลศาสตร์ (Dynamic)" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชากลศาสตร์ กาลิเลโอมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องดาราศาสตร์อย่างมาก แต่ไม่สามารถศึกษาได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากขาดอุปกรณ์ในการศึกษาค้นคว้า ต่อมาในปี ค.ศ. 1608 มีข่าวว่าช่างทำแว่นตาชาวฮอลแลนด์ สามารถประดิษฐ์กล้องส่องทางไกลขนาดเล็กได้เป็นผลสำเร็จ ต่อมาในปี ค.ศ. 1610 กาลิเลโอจึงนำหลักเกณฑ์เดียวดันนี้มาสร้างเป็นกล้องโทรทรรศน์ขึ้นเป็นครั้งแรกแต่กล้องโทรทรรศน์ที่เขาประดิษฐ์ขึ้นในครั้งแรกมีกำลังขยายเพียง 3 เท่า เท่านั้น ต่อมาเขาได้ปรับปรุงกล้องโทรทรรศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีกำลังขยายมากถึง 32 เท่า ซึ่งกล้องอันนี้สามารถส่องดูดวงดาวต่าง ๆ ในจักรวาลได้อย่างชัดเจน สิ่งที่กาลิเลโอได้พบเห็นจากกล้องโทรทรรศน์ เขาได้บันทึกลงในหนังสือเล่มหนึ่ง และตีพิมพ์เผยแพร่ออกมาในปีเดียวกัน โดยใช้ชื่อหนังสือว่า SederieusNuncius หมายถึง ผู้นำสารจากดวงดาว ภายในหนังสือเรื่องนี้มีรายละเอียดดังนี้ - ผิวของดวงจันทร์ ซึ่งปรากฏว่าไม่เรียบเหมือนอย่างที่มองเห็น แต่มีหลุม หุบเหว และภูเขาใหญ่น้อย จำนวนมาก - พบว่าดาวมีหลายประเภท ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ได้แก่ ดาวเคราะห์ คือ ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง เช่น โลก ดาวพุธ และดวงจันทร์ เป็นต้น และดาวฤกษ์ คือ ดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง เช่น ดวงอาทิตย์ เป็นต้น - พบทางช้างเผือก (Milky Way) ซึ่งมีลักษณะเป็นทางขาว ๆ ดูคล้ายหมอกบาง ๆ พาดผ่านไปบนท้องฟ้า ทางช้างเผือก เกิดจากแสงของกลุ่มดาวฤกษ์ซึ่งมีความหนาแน่นมาก - เนบิวลา (Nebula) คือ กลุ่มก๊าซ และวัตถุต่าง ๆ ซึ่งมีการรวมตัวกันอย่างหนาแน่น - พบวงแหวนของดาวเสาร์ แต่กาลิเลโอไม่ได้เรียกว่าวงแหวน ต่อมาในปี ค.ศ. 1655 ฮอยเกนส์ได้พิสูจน์ว่าเป็นวงแหวน และเรียกว่า "วงแหวนของดาวเสาร์ (Saturn's Ring)" - พบบริวารของดาวพฤหัสบดีว่ามีมากถึง 4 ดวง กาลิเลโอได้ตั้งชื่อดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีว่า ซีเดรา เมดิซี (Sidera Medicea) เพื่อเป็นเกียรติแก่ ดยุคแห่งทัสคานี คอซิโมที่ 2 (Duke of Tuscany Cosimo II) ผู้ซึ่งเป็นทั้งลูกศิษย์ และเจ้านายของเขาในเวลาต่อมา และจากการค้นพบครั้งนี้ กาลิเลโอได้ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับการโคจรของโลกรอบดวง อาทิตย์ และภายหลังจากการศึกษา กาลิเลโอได้ตั้งทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยจักรวาล และโลกต้องโคจร รอบดวงอาทิตย์ - พบว่าพื้นผิวของดาวศุกร์มีลักษณะคล้ายกับดวงจันทร์ - พบจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sun Spot) จากการค้นพบครั้งนี้กาลิเลโอได้เขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Letter on the Solar Spot ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับจุดดับบนดวงอาทิตย์ และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการโคจรของดวงดาวในระบบสุริยจักรวาล ว่าอันที่จริงแล้วดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ของสุริยจักรวาล อีกทั้งโลกและดาวดวงอื่น ๆ ต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์การค้นพบทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอครั้งนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีนั้นก็คือทำให้วิชาการด้านดาราศาสตร์มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นไปอีกก้าวหนึ่ง อีกทั้งชื่อเสียงของ กาลิเลโอก็เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น เขาได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งนักปราชญ์ประจำราชสำนักของท่านแกรนด์ดยุคแห่งทัสคานี (Grand Duke of Tuscany) ส่วนข้อเสียเป็นสิ่งที่ส่งผลร้ายอย่างมากต่อกาลิเลโอ คือ ทฤษฎีของกาลิเลโอขัดแย้งกับหลักศาสนา และทฤษฎีของอาริสโตเติลที่มีผู้เชื่อถือมากในขณะนั้น แม้ว่ากาลิเลโอจะนำกล้องโทรทรรศน์มาตั้งให้ทุกคน ได้ทดลองส่องดู ซึ่งทุกคนก็เห็นเช่นเดียวกับที่กาลิเลโอบอกไว้ แต่ถึงอย่างนั้นกลุ่มคนที่มีความเชื่อถือในทฤษฎีของอาริสโตเติล ก็ยังไม่เห็นด้วยกับกาลิเลโอ และกล่าวหากาลิเลโอว่าต่อต้านศาสนา ทำให้กาลิเลโอได้รับคำสั่งจากศาสนจักรให้หยุดแสดง ความคิดเห็นที่ขัดแย้งต่อหลักศาสนา หลังจากนั้นกาลิเลโอได้เดินทางไปยังเมืองฟลอเรนซ์ และอยู่ที่นี่เป็นเวลานานถึง 7 ปี และในระหว่างนี้ เขาได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับดาราศาสตร์ และในปี ค.ศ. 1618 กาลิเลโอได้พบดาวหางถึง 3 ดวง และได้พบความจริง เกี่ยวกับดาวหางที่ว่า ดาวหางเป็นดาวฤกษ์ชนิดหนึ่งเช่นกัน แสงที่เกิดนี้เกิดจากแสงของดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับรุ้งกินน้ำ กาลิเลโอได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ลงในหนังสือชื่อว่า Saggiatore แต่ทฤษฎีข้อนี้ของกาลิเลโอ ผิดพลาด ใน ปี ค.ศ. 1632 กาลิเลโอได้เขียนหนังสือขึ้นมาอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า Dialogo Del Due Massimi Sistemi Del Mondoแต่เพื่อหลีกเลี่ยงข้อความที่ต่อต้านกับหลักศาสนา กาลิเลโอจึงเขียนขึ้นในเชิงบทละคร ซึ่งมีตัวเอกด 2 ตัว สนทนา เกี่ยวกับทฤษฎีของปโตเลมี และโคเปอร์นิคัส แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสอยู่ดี ทำให้เขาถูกต่อต้านอย่างหนักอีกทั้งหนังสือเล่มนี้ก็ถูกห้ามมิให้จำหน่ายในประเทศอิตาลีอีกด้วย ส่วนตัวเขาถูกสอบสวนและต้องโทษจำคุกเพื่อให้สำนึกบาปที่ คัดค้านคำสอนในคริสต์ศาสนา ต่อมาเขาถูกบังคับให้กล่าวคำขอโทษ เพื่อแลกกับอิสระและชีวิตของเขา แม้ว่าเขาจะถูกปล่อยตัวออกจากคุก แต่เขาก็ยังต้องอยู่ในความควบคุมของอัสคานิโอ ปิคโคโรมินิ (Ascanio Piccoromini) บาทหลวงผู้หนึ่งซึ่งในระหว่างนี้เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับฟิสิกส์ และตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า Disorsi เมื่อการค้นคว้าทางดาราศาสตร์ของเขามีอุปสรรค เขาจึงหันมาทำการค้นคว้าเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์แทน กาลิเลโอได้ประดิษฐ์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ขึ้นหลายชิ้น ได้แก่ นาฬิกาน้ำ ไม้บรรทัด และเทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer) เป็นต้น และในปี ค.ศ. 1636 กาลิเลโอได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า Dialoghi Della Nuove Scienze แต่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1638 โดยเอสเซฟเวียร์ (Elzavirs) ที่เมืองเลย์เดน (Leyden) หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชากลศาสตร์ หลังจากหนังสือเล่มนี้เผยแพร่ออกไปกลับได้รับความนิยมมากกว่าหนังสือดาราศาสตร์ของเขา อีกทั้งไม่ถูกต่อต้านจากศาสนาจักรอีกด้วย ในช่วงสุดท้ายของชีวิต กาลิเลโอได้ค้นคว้า และเฝ้ามองดูการเคลื่อนไหวของดวงดาวบนท้องฟ้า รวมถึงดวงจันทร์ด้วย กาลิเลโอได้เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของดวงจันทร์จนพบว่า ดวงจันทร์ใช้เวลา 15 วัน ในการโคจรรอบโลก ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบ ครั้งสุดท้ายของเขา เพราะหลังจากนั้นประมาณ 2 - 3 เดือน เขาก็ตาบอดและสุขภาพอ่อนแอลงเรื่อย ๆ เนื่องจากความชรา และเสีย ชีวิตในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1642 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ : Albert Einstein



เกิด วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ที่เมืองอูล์ม (Ulm) ประเทศเยอรมนี (Germany)


เสียชีวิต วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1955 ที่เมืองนิวเจอร์ซี่ (New Jersey) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)


ผลงาน - ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity)


- ค้นพบทฤษฎีการแผ่รังสี (Photoelectric Effect Theory)


- ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1921


ในบรรดานักวิทยาศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ 19-20 ไอน์สไตน์ถือว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด และอาจกล่าวได้ว่า เขาคือผู้ยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยระเบิดปรมาณูอันทรงอานุภาพแห่งการทำลายล้าง เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น ไอน์สไตน์ ได้ส่งจดหมายฉบับหนึ่งถึงประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ (Franklin Delano Roosevelt) เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของแร่ยูเรเนียมที่สามารถนำมาสร้างลูกระเบิดพลังงานการทำลายสร้างรุนแรง เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นประกาศแพ้สงคราม และนำสันติภาพมาสู่โลกอีกครั้งหนึ่ง ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตกลงทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกลงที่เมืองฮิโรชิมา (Hiroshima) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลให้คนเสียชีวิตทันทีกว่า 60,000 คน และเสียชีวิตภายหลังอีกกว่า 100,000 คน ไอน์สไตน์เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ที่เมืองอูล์ม ประเทศเยอรมนี ไอน์สไตน์เป็นชาวเยอรมันแต่ก็มีเชื้อสายยิวด้วย บิดาของไอน์สไตน์เป็นเจ้าของร้านจำหน่ายเครื่องยนต์และสารเคมี ชื่อว่า เฮอร์แมน ไอน์สไตน์ (Herman Einstein) ต่อมาเมื่อ ไอน์สไตน์อายุได้ 1 ขวบ บิดาได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองมิวนิค ซึ่งคนส่วนใหญ่ในเมืองเป็นชาวยิวเช่นเดียวกับเขา ทำให้เขาไม่มีปัญหากับเพื่อนบ้าน ไอน์สไตน์เป็นเด็กที่เงียบขรึม และมักไม่ค่อยชอบออกไปเล่นกับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน จนบิดาเข้าใจว่าเขาเป็นคนโง่ จึงได้จ้างครูมาสอนพิเศษให้กับไอน์สไตน์ที่บ้าน โดยเฉพาะเรื่องการพูด ถึงแม้ว่าการพูดของเขาจะดีขึ้น แต่เขาก็ยังเงียบขรึม และไม่ออกไปเล่นกับเพื่อนเหมือนเช่นเคย เมื่อไอน์สไตน์อายุได้ 5 ขวบ บิดาได้ส่งเข้าโรงเรียนที่ยิมเนเซียม (Gymnasium) นักเรียน ในโรงเรียนแห่งนี้ทั้งหมดเป็นชาวเยอรมัน และนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ถึงอย่างนั้นไอน์สไตน์ก็เข้ากับเพื่อนได้ดี แต่สิ่งที่เขาไม่ชอบมากที่สุดในโรงเรียนก็คือการสอนที่น่าเบื่อหน่าย ที่ใช้วิธีการท่องจำเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นวิธีการที่เขาเกลียดที่สุดทำให้ไอน์สไตน์ไม่อยากไปโรงเรียน มารดาจึงหาวิธีแก้ปัญหาให้ไอน์สไตน์ โดยการให้เขาเรียนไวโอลินและเปียโนแทน แต่วิชาที่ไอน์สไตน์ให้ความสนใจมากที่สุดคือ คณิตศาสตร์ โดยเฉพาะวิชาเรขาคณิตเป็นวิชาที่เขาชอบมากที่สุด ทำให้เขาละทิ้งวิชาอื่นยกเว้นวิชาดนตรี และเรียนวิชาอื่นได้แย่มาก แม้ว่าจะทำคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดีมาก เขาก็มักจะถูกครูตำหนิอยู่เสมอ ต่อมาไอน์สไตน์อายุ 15 ปี กิจการโรงงานของพ่อเขาแย่ลง เนื่องจากการรวมตัวของบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและเคมีหลายแห่งทำให้โรงงานของพ่อเขาไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้ ครอบครัวของเขาต้องย้ายไปอยู่ที่เมืองมิลาน (Milan) ประเทศอิตาลี (Italy)แต่ไอน์สไตน์ไม่ได้ย้ายตามไปด้วย เพราะยังติดเรียนอยู่ แต่ด้วยความที่เขาคิดถึงครอบครัวมาก หลังจากนั้นอีก 6 เดือน เขาได้วางแผนให้แพทย์ออกใบรับรองว่าเขาป่วยเป็นโรคประสาท เพื่อให้เขาได้เดินทางไปหาพ่อกับแม่ที่อิตาลี เมื่อเป็นเช่นนั้นไอน์สไตน์จึงเดินทางไปหาครอบครัวที่มิลาน แต่ก่อนที่เขาจะออกเดินทางเขาได้ขอใบรับรองทางการศึกษา เพื่อสะดวกในการเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนอื่น ต่อมาไอน์สไตน์ได้สอบเข้าเรียนต่อวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ ที่วิทยาลัยโปลีเทคนิค เมืองซูริค (Federal Poleytechnic of Zurich) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไอน์สไตน์สอบวิชาคณิตศาสตร์ได้คะแนนดีมาก ส่วนวิชาชีววิทยาและภาษา ได้แย่มาก ทำให้เขาไม่ได้รับคัดเลือกให้เข้าเรียนในวิทยาลัยแห่งนี้ ต่อมาอีก 1 สัปดาห์ เขาได้รับจดหมายจากครูใหญ่วิทยาลัยโปลีเทคนิค ได้เชิญเขาไปพบและแนะนำให้เขาไปเรียนต่อ เพื่อให้ได้ประการศนียบัตร ซึ่งสามารถเข้าเรียนต่อวิทยาลัยโปลีเทคนิคได้โดยไม่ต้องสอบ หลังจากนั้นเขาจึงเข้าเรียนที่วิทยาลัยของสวิตเซอร์แลนด์ ตามหลักสูตร 1 ปี ระหว่างนี้เขาได้พักอาศัยอยู่กับครูผู้หนึ่งที่สอนอยู่ในโรงเรียนแห่งนี้ ไอน์สโตน์รู้สึกชอบวิทยาลัยแห่งนี้มาก เพราะการเรียนการสอนเป็นอิสระไม่บังคับ และไม่จำกัดมากจนเกินไป แนวการสอนเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน นอกจากนี้สภาพแวดล้อมในการเรียนยังดีมากดีด้วย เพราะได้มีการจัดห้องเรียนเฉพาะสำหรับแต่ละวิชา เช่น ห้องเรียนภูมิศาสตร์ก็มีภาพแผนที่ สถานที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ แขวนไว้โดยรอบห้อง ส่วนห้องเคมีก็มีอุปกรณ์ในการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย นอกจากนี้โรงเรียนแห่งนี้ยังมีนักเรียนจำนวนมาก ทำให้ไอน์สไตน์ไม่รู้สึกว่ามีปมด้อยที่เป็นชาวยิวอีกต่อไป หลังจากที่เขาจบหลักสูตรที่โรงเรียนมัธยม 1 ปี ไอน์สไตน์ได้เข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยเทคนิคในสาขาวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ตามที่ได้ตั้งใจไว้ หลังจากจบการศึกษาแล้ว ไอน์สไตน์ได้สมัครเข้าทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซูริค แต่ได้รับการปฏิเสธโดยไม่มีเหตุอันเหมาะสม และด้วยความเห็นใจจากศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยซูริคได้ออกใบรับรองผลการศึกษาให้เข้าจากนั้นไอน์สไตน์ได้เริ่มออกหางานทำจากประกาศตามหน้าหนังสือพิมพ์ซึ่งมีประกาศรับอาจารย์หลายแห่ง ไอน์สไตน์ได้เข้ารับการ สัมภาษณ์ แต่ปรากฏว่าไม่มีสถาบันแห่งใดรับเขาเข้าทำงานเลยแม้แต่สักที่เดียว ไอน์สไตน์เข้าใจว่าอาจจะเป็นเพราะเขาเป็นชาวยิว ดังนั้นในปี ค.ศ.1901 ไอน์สไตน์ได้โอนสัญชาติเป็นชาวสวิตเซอร์แลนด์ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถทำให้เขาหางานทำได้อยู่ดี ในที่สุดไอน์สไตน์ก็ได้งานทำเป็นครูในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง แต่ทำอยู่ได้เพียงไม่กี่เดือนก็ถูกไล่ออก จากนั้นไอน์สไตน์จึงรับจ้างเป็นครูสอนพิเศษตามบ้าน แต่ก็ทำได้ไม่นานก็ถูกพ่อแม่ของเด็กเลิกจ้าง เนื่องจากไอน์สไตน์ได้แสดงความผิดเห็นว่าไม่ควรให้เด็กไปเรียนที่โรงเรียนอีก เนื่องจากครูที่โรงเรียนสอนคณิตศาสตร์ในแบบผิด ๆ ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่ไอน์สไตน์สอน แม้ว่าเด็ก ๆ จะรักและชอบวิธีการสอนของเขาก็ตาม ไอน์สไตน์ก็ยังถุดไล่ออกอยู่ดี ต่อมาในปี ค.ศ.1902 ไอน์สไตน์ได้เจอกับเพื่อนเก่าคนหนึ่งได้ฝากงานที่สำนักงานจดทะเบียนสิทธิบัตรที่กรุงเบิร์น ถึงแม้ว่าไอน์สไตน์จะไม่ชอบงานที่นี่มากนัก แต่รายได้ปีละ 250 ปอนด์ ซึ่งทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้น และมีโอกาสได้พบกับสิ่งประดิษฐ์ที่แปลกใหม่อีกด้วย ในระหว่างที่ไอน์สไตน์ทำงานอยู่ที่นี่ เขาได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการประดิษฐ์สิ่งของเช่นกัน สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกของไอน์สไตน์คือ เครื่องมือบันทึกการวัดกระแสไฟฟ้า ในปี ค.ศ.1903 ไอน์สไตน์ได้แต่งงานกับมิเลวา มารี เพื่อนเก่าสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองซูริค และในปีเดียวกันนี้เขาได้เขียนบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้กับนิตยสารเยอรมนีฉบับหนึ่ง และในปี ค.ศ.1905 บทความเรื่องของไอน์สไตน์ก็ได้รับความสนใจ และยกย่องอย่างมาก บทความเรื่องนี้เป็นของทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity) ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับความ สัมพันธ์ระหว่างพลังงาน กับมวลสาร โดยเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้ E = mc2 โดย E (Energy) = พลังงาน m (mass) = มวลสารของวัตถุ c = ความเร็วแสง ทฤษฎีสัมพัทธภาพต่อมาได้นำไปสู่การค้นคว้าเรื่อง พลังงานปรมาณู เพราะทฤษฎีนี้อธิบายว่ามวลเพียงเล็กน้อยของแร่ชนิดหนึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานมหาศาลที่ใช้ในโรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้อย่างสบาย ในระยะแรกที่ไอน์สไตน์เผยแพร่ผลงานชิ้นนี้ออกไป ผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจนัก แต่เมื่อไอน์สไตน์อธิบายให้ฟังด้วยวิธีง่าย ๆ ก็เกิดความเข้าใจมากขึ้น และจากผลงานชิ้นนี้ทำให้เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตขั้นเกียรตินิยมสูงสุด ในปี ค.ศ.1909 เขาได้รับเชิญให้เป็นศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยซูริค (Zurich University) ซึ่งไอน์สไตน์ตอบรับทันทีทั้งนี้เขาต้องการแสดงให้ทุกคนได้เห็นถึงความสามารถของเขา ซึ่งมหาวิทยาลัยแห่งนี้เคยปฏิเสธเขามาครั้งหนึ่งแล้ว ในปี ค.ศ.1911 ไอน์สไตน์ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยปราค (Prague) ในปีต่อมาไอน์สไตน์ได้รับเชิญจากวิทยาลัยเทคนิค ซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าของเขา ไอน์สไตน์ตกลงทันทีเนื่องจากเขาต้องการพิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นถึงความสำคัญของเขา ในระหว่างนี้มีมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ อีกหลายแห่งเชิญเขาไปสอน แต่เขาก็ปฏิเสธ และเขาได้ตอบรับเป็นศาสตราจารย์พิเศษสอนที่สถาบันไกเซอร์วิลเฮล์ม (Kaiser Wilhelm Institute) การที่เขาตอบรับครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการได้สนทนากับพระเจ้าไกเซอร์ ผู้ก่อตั้งสถาบันแห่งนี้ ไอน์สไตน์รู้สึกถูกอัธยาศัยที่สนุกสนานเป็นกันเอง ประกอบกับความสนใจในเรื่องวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน และอีก 2 ปีต่อมา ไอน์สไตน์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการประจำสถาบันแห่งนี้ ในปี ค.ศ.1914 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น ทำให้ทุกหนทุกแห่งวุ่นวาย โดยเฉพาะในยุโรป แต่ถึงอย่างนั้นในปี ค.ศ.1915ไอน์สไตน์ก็ยังทำการค้นคว้าเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และออกตีพิมพ์หนังสืออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (GeneralTheory of Relativity) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่หลายต่างก็ไม่เข้าใจในทฤษฎีข้อนี้ แต่ด้วยความที่ไอน์สไตน์เป็นคนสุขุมเยือกเย็น เขาได้ อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีในหลายลักษณะเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า มีรถไฟ 2 ขบวน ขบวนหนึ่งจอดอยู่กับที่ อีกขบวนหนึ่งกำลังวิ่งสวนทางไป ผู้โดยสารที่อยู่บนรถไฟที่จอดอยู่อาจจะรู้สึกว่ารถไฟกำลังวิ่งอยู่ เพราะฉะนั้น อัตราเร็ว ทิศทาง จึงมีความเกี่ยวข้องกัน ในปี ค.ศ.1921 ไอน์สไตน์ได้เสนอผลงานออกมาอีกชิ้นหนึ่ง คือ ทฤษฎีการแผ่รังสี (Photoelectric Effect Theory)และจากผลงานชิ้นนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ และรางวัลจากอีกหลายสถาบัน ได้แก่ ค.ศ.1925 ได้รับเหรียญคอพเลย์ จากราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน ค.ศ.1926 ได้รับเหรียญทองราชดาราศาสตร์ ค.ศ.1931 ดำรงตำแหน่งนักค้นคว้าของวิทยาลัยไครสต์เชิร์ช แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ค.ศ.1933 เขาได้รับเชิญจากประเทศสหรัฐอเมริกาให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของสถาบันบัณฑิตวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน ที่รัฐนิวเจอร์ซี่ (Institute for Advance Study at Princeton, New Jersey) นอกจากนี้ทฤษฎีของเขายังสามารถล้มล้างทฤษฎีของจอห์น ดาลตัน (John Dalton) นักฟิสิกส์และเคมีชาวอังกฤษที่ว่า"สสารย่อมไม่สูญไปจากโลกเพราะอะตอมเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสาร ซึ่งไม่สามารถจะแยกออกไปได้อีก" แต่ไอน์สไตน์ได้กล่าวว่า สสารย่อมมีการสูญสลาย นอกจากพลังงานเท่านั้นที่จะไม่สูญหาย เพราะพลังงานเกิดขึ้นจากสสารที่หายไป และอะตอมไม่ใช่ส่วนที่ เล็กที่สุดของสสาร เพราะฉะนั้นจึงสามารถแยกออกได้อีก ในปี ค.ศ.1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้ไอน์สไตน์ได้รับความทุกข์ทางใจมาก เนื่องจากเยอรมนีในฐานะผู้ก่อสงคราม และมีฮิตเลอร์เป็นผู้นำ ฮิตเลอร์รังเกียจชาวยิว และกล่าวหาชาวยิวว่าเบียดเบียนชาวเยอรมันในการประกอบอาชีพ แต่ไอน์สไตน์ ก็ยังโชคดีเพราะว่าก่อนหน้านี้ ในปี ค.ศ.1933 ได้อพยพออกจากเยอรมนี เพราะในขณะนั้นฮิตเลอร์ได้ดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีของเยอรมนี และเริ่มขับไล่ชาวยิวออกจากเยอรมนีตั้งแต่ปี ค.ศ.1932 ไอน์สไตน์เห็นว่าสถานการณ์ไม่สู้ดีนักจึงเดินทางออกมา แต่ยังมีชาวยิวกว่า 2,000,000 คน ที่ยังอยู่ในเยอรมนี และถูกสังหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กว่า 1,000,000 คน สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสงครามที่ยืดเยื้อนานกว่า 6 ปี โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ และรัสเซีย และฝ่ายอักษะ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ต่อมาช่วงกลางปี ค.ศ.1945 เยอรมนี และอิตาลีได้ยอมแพ้สงครามเหลือเพียงแต่ญี่ปุ่นประเทศเดียวเท่านั้นที่ยังไม่ยอมแพ้ ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตัดสินใจทิ้งลูกระเบิดปรมาณู เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม ระเบิดปรมาณูได้ทำการทดลองสร้างขึ้นในระหว่างสงครามครั้งนี้ ซึ่งมีไอน์สไตน์เป็นผู้ริเริ่ม และควบคุมการผลิต ลูกระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกได้ทำการทดลองทิ้งลงที่เมืองฮิโรชิมา ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1945 ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายกว่า 150,000 คน แต่ญี่ปุ่นยังไม่ประกาศยอมแพ้ ดังนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตัดสินใจทิ้งระเบิดอีก 1 ลูก ที่เมืองนางาซากิ (Nagasaki) ในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945 ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีกกว่า 100,000 คน เช่นกัน ลูกระเบิด 2 ลูก นี้ ทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม และปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เพียงเท่านี้ ไอน์สไตน์เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1955 หลังจากที่ไอน์สไตน์เสียชีวิตไปแล้วมีการสร้างอนุสาวรีย์ รูปไอน์สไตน์ครึ่งตัวขึ้นภายในสถาบันฟิสิกส์ แห่งกรุงเบอร์ลิน เรียกว่า หอคอยไอน์สไตน์ เพื่อระลึกถึงความสามารถของเขา